×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2561/2561_03_20a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2561/2561_03_20a/

2561 03 20a 002

 

 

 

 

 

 

 

 นายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์  แถลงข่าวความก้าวหน้าในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2561

นายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์  แถลงข่าวความก้าวหน้าในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2561 ว่า  การฉีดวัคซีนให้แก่สุนัข-แมวซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมปศุสัตว์ ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 8.24 ล้านตัว  ได้มีการดำเนินการสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 จนถึงวันนี้รวมทั้งสิ้น  2,089,930 ตัว   โดยการฉีดวัคซีนรอบจุดเกิดโรคในรัศมี 5 กม.ได้ 100 % แล้ว และคาดว่าในช่วงรณรงค์ (มีค.-พค.) จะได้ 80 % ของสุนัข-แมวทั่วประเทศ สำหรับการผ่าตัดทำหมันซึ่งมีเป้าหมาย 300,000 ตัว มีการดำเนินการสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 จนถึงวันนี้รวมทั้งสิ้น จำนวน  111,297 ตัว และทำการอบรมอาสาปศุสัตว์ด้านโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งตั้งเป้าไว้ 17,500 คน มีผลงานสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 จนถึงวันนี้ จำนวน  21,873 คน ซึ่งเป็นอาสาจากท้องถิ่นละ 1-2 ราย ทำงานร่วมกับ อสม. นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว แล้ว 7.3 ล้านตัว  โดยยอดที่สำรวจสุนัข แมวในปีที่ผ่านมามี ประมาณ 10 ล้านตัว ด้านสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในคนที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 19มีนาคม 2561 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย  ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิต ส่วนการประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ในช่วงมกราคม – 19 มีนาคม 2561 มีการประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว (อายุ 30 วัน) จำนวน 38 จังหวัด  ปัจจุบันคงเหลือ 24 จังหวัด

  อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์มีเหตุผลความจำเป็นในการประกาศเขตโรคระบาด เพื่อสามารถกำหนดพื้นที่ควบคุมในระยะ 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค  ทำให้สามารถระบุชนิดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ต้องควบคุมได้ทุกชนิด  ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ตามประกาศเว้นแต่ได้รับอนุญาต และสัตวแพทย์สามารถสั่งดำเนินการกับสัตว์ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยหรือสงสัยว่าเป็นพาหะของโรคระบาดได้ทันที หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 02-6534444 ต่อ 4181

{gallery}news_dld/2561/2561_03_20a/{/gallery}