×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_02_28c/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_02_28c/

2562 02 28c 001

พิกบอร์ด (Pig board) เตรียมแผนการผลิตและการตลาดสุกร ปี 2562 คาดว่าจะมีการขยายตัวการนำเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น 

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig board) ณ กรมปศุสัตว์ พญาไท ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดสุกร ปี 2562 โดยพิจารณาจากปริมาณแม่พันธุ์สุกรที่ใช้งานในระบบ ปี 2562 ประเมินจากฝูงแม่พันธุ์ ปี 2561 (คิดจากร้อยละ 80) และฝูงแม่สุกรสาวที่ได้จากการสำรวจปี 2561 นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากประสิทธิภาพการผลิต โดยแม่สุกร 1 ตัว สามารถผลิตสุกรขุนได้ 19.63 ตัว อีกทั้งยังได้คาดการณ์การขยายตัวการนำเข้าและส่งออก ปี 2562 จากปี 2561 คือ ปริมาณการส่งออกสุกรมีชีวิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ปริมาณการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ปริมาณการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยได้รับปัจจัยบวกจากปัญหาโรค African Swine Fever ในจีน ไต้หวัน เวียดนาม และญี่ปุ่น ประกอบกับข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ที่คาดว่าประเทศเวียดนามจะส่งออกเนื้อสุกรลดลงจาก 35,000 ตัน ในปี 2561 เป็น 30,000 ตัน ในปี 2562 จึงเป็นปัจจัยบวกให้กัมพูชานำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทยเพิ่มมากขึ้น

 
นายลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2562 นี้ จึงคาดว่าจะมีแม่พันธุ์สุกร จำนวน 1.047 ล้านตัว ผลิตสุกรขุน (น้ำหนัก 100 กิโลกรัม/ตัว) วันละ 56,388 ตัว รวมทั้งปีจะสามารถผลิตสุกรขุนได้ จำนวน 20.557 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกสุกรมีชีวิต จำนวน 1,000,000 ตัว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10) การนำเข้าเนื้อสุกร จำนวน 112 ตัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5) และส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ จำนวน 20,906 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีปริมาณเนื้อสุกรเหลือบริโภคภายในประเทศ จำนวน 1.45 ล้านตัน หรือคิดเป็นอัตราบริโภค 22 กิโลกรัม/คน/ปี
 
ทั้งนี้ ในปี 2561 มีปริมาณการผลิตสุกรขุน จำนวน 22.90 ล้านตัว ปริมาณการผลิตไตรมาส 4/2561 (ต.ค. - ธ.ค.) จำนวน 6.03 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อสุกร 452.12 พันตัน มีต้นทุนการผลิตสุกร ไตรมาส 4/2561 (กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยง) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.24 บาท ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ไตรมาส 4/2561 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.89 บาท ราคาขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละ ไตรมาส 4/2561 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.55 บาท การส่งออกสุกรมีชีวิต ปี 2561 (ม.ค. - ธ.ค.) จำนวน 885,372 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 127 และการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร ปี 2561 (ม.ค. - ธ.ค.) มีจำนวน 97,534 ตัน ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 9
{gallery}news_dld/2562/2562_02_28c/{/gallery}
ภาพ กิิตติพรรณ จินดามัง / กลุ่มเผยแพร่ / สลก