×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_03_11/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_03_11/

2562 03 11 001

วันที่ 11 มี.ค. 62 เวลา 11.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน “การประชุมอาหารและอาหารสัตว์โลกครั้งที่ 6” (The 6th Global Feed and Food Congress ; GFFC 2019) ณ โรงแรมแชงกรีล่า
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์ในลำดับต้นๆ ของโลก กรมปศุสัตว์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ได้กำกับดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร (food chain) โดยที่อาหารสัตว์ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ เนื่องจากเป็นต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้กำกับดูแลอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพและมีความปลอดภัยมากว่า 50 ปี โดยมีกฎหมายที่กำกับดูแลทั้งผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้ขายอาหารสัตว์ รวมถึงเกษตรกรที่ใช้อาหารสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศห้ามเติมหรือผสมยาสัตว์ ฮอร์โมน และสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายและส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคลงในอาหารสัตว์ เช่น สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (สารเร่งเนื้อแดง) ฮอร์โมนไดเอทิลสติลเบสโทรล (ฮอร์โมนเร่งโต) และยากลุ่มคลอแรมเฟนิคอลและกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ เป็นต้น โดยที่ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญด้านการสาธารณสุข และเป็นปัญหามีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดั้งนั้นภาคปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 30 % ภายในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการกำกับดูแลให้มีการใช้ยาในสัตว์อย่างถูกต้องมาโดยตลอด โดยล่าสุดได้มีการออกกฎหมายที่กำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated Feed) นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ จนกระทั่งมีการดำเนินโครงการการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ (Raised Without Antibiotics; RWA) เป็นต้น
อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2562 สหพันธ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์นานาชาติ (International Feed Industry Federation; IFIF) โดยการสนับสนุนขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดงาน “การประชุมอาหารและอาหารสัตว์โลกครั้งที่ 6 (The 6th Global Feed and Food Congress; GFFC 2019)” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ร่วมบรรยายให้ความรู้และร่วมเสวนากับผู้เข้าร่วมประชุมที่มีความเกี่ยวข้องและสนใจงานด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยในปีนี้จะเน้นในหัวข้อ “The future of Feed & Food-are we ready” ซึ่งจะมีการกล่าวถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง มีการเจ็บป่วยและใช้ยาต้านจุลชีพน้อยลง ตลอดจนการหาทางเลือกอื่นๆ (Alternative) เฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (Feed additives) เช่น โปรไบโอติก (Probiotics) และสมุนไพร เป็นต้น เพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีความปลอดภัย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปศุสัตว์ สามารถผลิตปศุสัตว์ที่จะเป็นแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนแก่ผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างเพียงพอและปลอดภัยในอนาคตต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม

 {gallery}news_dld/2562/2562_03_11/{/gallery}

ข่าว พิจารณา สามนจิตติ / ภาพข่าว ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ สลก.