×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_12_02/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_12_02/

 

2562 12 02 002

 

 

 

 

 

 

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ประธานพิธีเปิด (Kick off) โครงการรณรงค์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย รอบที่ 1 ปี 2563 ณ สหกรณ์โคนม ไทย – เดนมาร์ก สวนมะเดื่อ จำกัด อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ประธานพิธีเปิด (Kick off) โครงการรณรงค์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย รอบที่ 1 ปี 2563   พร้อมด้วย นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ ปศุสัตว์เขต 1 นายสัตวแพทย์จรูญ ชูเกียรติวัฒนา ปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี นายมานิตย์ โตล่ำ ประธานสหกรณ์โคนม ไทย – เดนมาร์ก สวนมะเดื่อ   เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนมดิบในจังหวัดลพบุรี และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ราว 300 คน เข้าร่วมพิธี ในวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2562 เวลา 10.30 น. ณ สหกรณ์โคนม ไทย – เดนมาร์ก สวนมะเดื่อ จำกัด อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย และการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2562 พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การรณรงค์ฉีดวัคซีนฯ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทราบ เพื่อขอรับบริการฉีดวัคซีนที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้าน ร่วมกับปศุสัตว์เขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น สหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น โดยให้แต่ละพื้นที่ดำเนินการรณรงค์ (Kick off) พร้อมกันทั่วประเทศ   พร้อมกันนี้ปศุสัตว์ให้ความรู้เกษตรกรเรื่องโรคและความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันพร้อมกันทั่วประเทศ และลดปัญหาการเกิดโรคระบาดได้ในที่สุด

“ โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่สำคัญในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร   โรคนี้สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วย หรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ สัตว์ป่วยจะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร มีเมล็ดตุ่มพองหรือแผลบริเวณลิ้น ช่องปาก ริมฝีปาก เต้านม และกีบ ส่งผลให้สัตว์มีน้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเดินกะเผลก โดยทั่วไปโรคปากและเท้าเปื่อยมักไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ที่โตเต็มวัยตาย แต่สัตว์อาจตายได้จากภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียหรือจากปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากสัตว์เบื่ออาหารและอ่อนแอ และอาจสร้างความรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายในลูกสัตว์ได้เนื่องจากเชื่อไวรัสทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

{gallery}news_dld/2562/2562_12_02/{/gallery}