×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_06_04/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_06_04/

2563 06 04002
วันที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 น.
    นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ หารือการดำเนินการและมาตรการควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย นายนารา เกตุสิงห์ เลขาธิการสมาคมฯ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ ผู้แทนกรมการสัตว์ทหารบก ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     เนื่องจากสถานการณ์การเกิดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ในประเทศไทย มีแนวโน้มดีขึ้น สามารถควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในวงพื้นที่จำกัด กรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคมหาวิทยาลัย สมาคมฯ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความร่วมมือจากผู้เลี้ยงม้า
      กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายควบคุมโรคและขอคืนสภาพปลอดโรคจาก OIE โดยเร็วที่สุด เพื่อให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งมีแผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เพื่อคืนสภาพปลอดโรคของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คือระยะเผชิญเหตุ (กำลังอยู่ในระยะนี้) ระยะที่ 2 คือการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ และระยะที่ 3 คือการขอคืนสภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) มีแผนเป้าหมายการฉีดวัคซีนในพื้นที่รอบจุดเกิดโรคในรัศมี 50 กิโลเมตร และในพื้นที่เสี่ยงสูงที่วิเคราะห์จากหลักระบาดวิทยา รวมใน 19 จังหวัด เป้าหมายในม้าจำนวน 7,999 ตัว ดำเนินการฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 6,500 ตัว (คิดเป็น 81.26%) (ข้อมูลวันที่ 3 มิถุนายน 2563) ซึ่งขอความร่วมมือผู้เลี้ยงม้าให้ทำตามมาตราการและข้อกำหนดก่อนและหลังการทำวัคซีนในม้าอย่างเคร่งครัด
     องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ได้ให้คำแนะนำให้ประเทศไทยทำ Public Private Partnerships (PPP) อย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นหลักฐานและคู่มือในการดำเนินการเพื่อประกอบการขอสภาพปลอดโรค ซึ่งในทางปฏิบัติกรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนอยู่แล้ว จึงเห็นควรทำ PPP ในรูปแบบบันทึกข้อตกลงร่วมกัน MOU ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมฯ ภาคมหาวิทยาลัย และนักวิชาการต่างๆ โดยจะมีการพิจารณากำหนดขอบเขตความร่วมมือ รูปแบบความร่วมมือ และหน่วยงานที่ร่วมข้อกำหนดต่อไป นอกจากนี้ เพื่อเป็นความมั่นคงด้านวัคซีนและการป้องกันและควบคุมโรค AHS ในระดับภูมิภาคของอาเซียน มีการตั้ง OIE Sub-Regional Representation for South-East Asia ที่ประเทศไทย อธิบดีกรมปศุสัตว์ในฐานะ OIE Delegate of Thailand จะเสนอประเด็นให้พิจารณามี Vaccine Bank ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ ทางระบบ conference กำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เพื่อความมั่นคงทางวัคซีนและสำรองวัคซีนไว้ใช้ในประเทศเพื่อนบ้านสำหรับภูมิภาคนี้ด้วย
     ณ ห้องประชุม 1 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2563/2563_06_04/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว ทีมงานรองอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก