×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_06_15a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_06_15a/

2563 06 15a 001

วันที่ 15 มิถุนายน 2563 เวลา 11.30 น.

     นายสัตวแพทยสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ TNN 16 เรื่อง โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ในประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันของโรค มาตรการในการควบคุมโรค และผลการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะออกอากาศประมาณวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์นี้ ช่วงข่าวค่ำ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
     สืบเนื่องจากการเกิดโรค AHS ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก กรมปศุสัตว์ได้รับแจ้งวันที่ 25 มีนาคม 2563 และได้เร่งลงพื้นที่สอบสวนโรคและรายงานไปองค์การสุขภาพสัตวโลก (OIE) ทันที และรายงานต่อเนื่องรายสัปดาห์ จากการดำเนินงานต่อเนื่องภายในระยะเวลา 2 เดือน สถานการณ์ล่าสุดสามารถควบคุมการเกิดโรคได้วงพื้นที่จำกัด กรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ วัคซีน การลงพื้นที่ภาคสนาม การวิจัย และการศึกษาแมลงพาหะ มีการทำแผนปฏิบัติการกำจัดโรค AHS เพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจาก OIE ของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ระยะ โดย ระยะแรก คือ ระยะเผชิญเหตุ (กำลังอยู่ในระยะนี้) ถ้าไม่มีรายงานม้าป่วยตายต่อเนื่องระยะเวลา 30 วัน จะสามารถเข้าสู่ ระยะสอง คือ ระยะเฝ้าระวังและป้องกันการอุบัติโรคซ้ำ และระยะสาม คือ การขอคืนสภาพปลอดโรคของประเทศไทย โดยสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินงานให้สำเร็จได้ (Key of successful measures) คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Public Private Partnership: PPP) ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจากสมาคมและผู้เลี้ยงม้าทุกราย
     กรมปศุสัตว์มีมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด ซึ่งตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดสัตว์ชนิดอื่น ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 ได้ประกาศเพิ่มให้ "ม้าลาย และรวมถึงสัตว์ในวงศ์อีไควดี" เป็นสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา 34 แห่ง พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา "ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563" ซึ่งขั้นตอนการนำเข้ามีการทำงานร่วมกัน 3 หน่วยงาน คือ กรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมศุลกากร การนำเข้าสัตว์ต้องทำตามมาตรการและเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีการตรวจสุขภาพสัตว์เบื้องต้น ตรวจเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) และมีการตรวจเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ เฉพาะสัตว์ที่ปกติและตรงตามเงื่อนไขเท่านั้นสามารถนำเข้าได้ กรณีที่ผิดปกติ/ไม่ตรงตามเงื่อนไข จะส่งกลับหรือทำลาย ซึ่งจากการรายงาน "ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 ยังไม่มีรายงานการนำเข้าม้าลาย" และจากการรายงานพบว่า "สัตว์ที่ผ่านการนำเข้าตามขั้นตอนและมาตรการของกรมปศุสัตว์ ยังไม่มีรายงานการเกิดโรคในสัตว์ที่กำหนดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558"
     แนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรค AHS ในม้าลาย กรมปศุสัตว์มีมาตรการสำหรับการป้องกันโรค ดังนี้
     1. คอกพักสัตว์ต้องติดตั้งมุ้งหรือตาข่ายสำหรับกันแมลง ที่มีขนาดความถี่ 32 ตา เป็นอย่างน้อย ทำการฝึกสัตว์ให้คุ้นชินต่อการกักตัวในคอกพัก และให้นำม้าลายเข้าพักในคอกที่มีมุ้งตาข่ายในเวลากลางคืน ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทำลายเศษอาหารหรือกองมูลบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และพ่นน้ำยากำจัดแมลงบริเวณคอกพักสัตว์รวมถึงมุ้งตาข่าย ทุกๆ 7-14 วัน
     2. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงพาหะ และแมลงบินต่างๆ ด้วยการฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลง ที่ปลอดภัยต่อม้าลาย หรือพ่นยาฆ่าแมลงชนิดพ่นควัน
     3. พ่นยาฆ่าแมลงที่ตัวม้าลายด้วยยาในกลุ่มที่มีความปลอดภัยต่อตัวสัตว์ เช่น ยาในกลุ่ม Etofenprox หรือสารสกัดจากธรรมชาติ
     กรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ที่เลี้ยงม้าลายทุกรายให้ดำเนินการตามข้อกำหนด ซึ่งองค์การสวนสัตว์เป็นหน่วยงานแรกที่ได้ปฏิบัติตามแล้ว โดยจะมีการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตาม ถ้าไม่ทำตามมาตรการจะมีบทกำหนดลงโทษตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการ OIE ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกล และโอเชียเนีย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 เพื่อเป็นความมั่นคงของวัคซีนลดการแพร่กระจายของโรค หากมีการเกิดในประเทศเพื่อนบ้าน อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้เสนอให้มี Vaccine bank แบบชั่วคราวในภูมิภาคนี้ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว ซึ่งจะพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
     ณ ห้องประชุมซุ้มเรือนแก้ว ชั้นล่างตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท

{gallery}news_dld/2563/2563_06_15a/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว เพ็ญศิริ ดวงอุดม / กลุ่มเผยแพร่ / สลก