×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_06_25d/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_06_25d/

25 06 63d 01
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
วันที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 น. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีการมอบเงินสนับสนุนจำนวน 3 ล้านบาท แก่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายอนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยพร้อมคณะฯ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งในเวทีโลก แม้ว่าในปัจจุบันโรงเชือดสัตว์ปีกของประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐานส่งออกจากกรมปศุสัตว์ มีจำนวน 30 แห่ง และทั้งหมดได้รับรองมาตรฐานฮาลาล จึงสามารถสร้างมูลค่าการส่งออก ปีละมากกว่า 1 แสนล้านบาท ติดเป็นอันดับ 4 ของประเทศผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกของโลก แต่ด้วยกับการระบาดโควิด-19 ไปทั่วโลก จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการดำรงชีวิตคนไทยทุกคน โดยในเดือนที่ผ่านมา ครม. ได้อนุมัติเงินเยียวยาเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 10 ล้านราย รายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งการเยียวยาครั้งนี้ มีเป้าหมายช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้พ้นจากความยากลำบากในช่วงโควิด-19 และสำหรับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบนี้ด้วย
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานกิจการฮาลาลของประเทศไทยให้สามารถส่งออกสินค้าฮาลาลได้สะดวกและรวดเร็ว
  ปัจจุบัน การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกของไทยมีตลาดหลัก คือ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยมีแผนขยายเปิดตลาดใหม่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศซาอุดิอาระเบียจัดเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ติดอันดับ 3 ของโลก และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จัดอยู่ในอันดับ 10 ของโลก ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ถือเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย เนื่องจากหลายประเทศได้รับผลกระทบและมีความต้องการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการที่โรงงานไทยได้มาตรฐานฮาลาลจะมีส่วนช่วยให้สินค้าเนื้อสัตว์ปีกของประเทศไทยเป็นที่ต้องการของต่างประเทศมากขึ้น
     กรมปศุสัตว์ได้ทำโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าฮาลาล ดำเนินการการตรวจรับรองสถานประกอบการโรงเชือด สถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์และสถานประกอบการอื่นด้านปศุสัตว์ เช่น ศูนย์รวบรวมนม ศูนย์รวบรวมไข่ สถานที่ตัดแต่งเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์ได้อุดหนุนงบประมาณในการตรวจรับรองดังกล่าวให้กับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามทุกปี เพื่อช่วยลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการตรวจรับรองฮาลาลแก่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยความสำเร็จครั้งล่าสุดเมื่อปี 2562 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการมากกว่า 250 ราย และตั้งเป้าในปี 2563 จะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 300 ราย เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อยสู่มาตรฐานการผลิตที่ฮาลาล นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ ได้เพิ่มมาตรการดำเนินการเฝ้าระวังการปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรในสินค้าปศุสัตว์ฮาลาล โดยให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าฮาลาล 800 ตัวอย่าง เพื่อเป็นการทวนสอบในมาตรฐานการผลิต และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอีกด้วย ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพ ธงชัย สาลี สลก /ข่าว คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์
 {gallery}news_dld/2563/2563_06_25d/{/gallery}