×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_07_09c/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_07_09c/

2563 07 09c 001
วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00 น. 
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานพิธีเปิด "โครงการภาครัฐร่วมเอกชน เฝ้าระวังเพื่อลดความเสี่ยงโรคระบาดในสุกร" ของจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายธีระ อนันต์วรปัญญา ปศุสัตว์เขต 5 ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ นายประพจน์ โชคพิชิตชัย นายกสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อส่งออก ผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ นายกเทศมนตรีตำบลสันทรายงาม เจ้าหน้าที่จากด่านกักกันสัตว์เชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     โครงการภาครัฐร่วมเอกชน เฝ้าระวังเพื่อลดความเสี่ยงโรคระบาดในสุกร เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกร เป็นโครงการที่ดีอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดเชียงราย ที่ร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนราชการ ภาคเอกชน เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และประชาชนทั่วไป วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ หากเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่และเป็นการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การอบรมให้ความรู้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุกและเชิงรับ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Clinical practice guideline: CPG) การซักซ้อมแผนกับทุกภาคส่วนทั้งส่วนกลางและภูมิภาค การสร้างศูนย์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามแนวด่านชายแดนต่างๆ การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ และการตั้งศูนย์ปฎิบัติการ War room ในระดับพื้นที่เพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที 
     โดยจังหวัดเชียงรายมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 236 ราย และกรมปศุสัตว์มีค่าชดเชยให้เกษตรกรจังหวัดเชียงรายในการทำลายซากสุกรเพื่อการเฝ้าระวังโรคจำนวน 236 ราย รวมเป็นจำนวนเงิน 10.806 ล้านบาท และจังหวัดพะเยา 2.10 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. 63) เกษตรกรทุกรายมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งผลสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ แต่ประเทศไทยเอาอยู่ไม่มีการระบาดของโรคในประเทศไทย โดยสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินงานให้สำเร็จคือความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  
     ณ เทศบาลตำบลสันทรายงาม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

{gallery}news_dld/2563/2563_07_09c/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว ทีมงานรองอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก