×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_08_04b/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_08_04b/

2563 08 04b 002
วันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 16.00 น.
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ บันทึกเทปรายการเจาะใจ โชว์บทบาทของกรมปศุสัตว์ด้านความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร From Farm to Table ออกอากาศช่อง 9 MCOT HD วันเสาร์ที่ 29 ส.ค. 63 เวลา 22.00 น. ช่วง Main Talk มีคุณดู๋ สัญญา คุณากร เป็นพิธีกรรายการ ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีโอกาสดีๆ มีโอกาสในหลายด้าน ซึ่งนอกจากเรื่องสาธารณสุขที่ไม่เป็นรองใคร อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือการเป็น “ครัวของโลก” เพราะในแต่ละปีเราส่งออกสินค้าเกษตรทำรายได้เข้าประเทศนับหลายหมื่นล้านบาท หรือแม้แต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา “สินค้าปศุสัตว์” จากบ้านเราก็สามารถก้าวขึ้นเป็นที่ 1 ในอาเซียนจากการส่งออกและเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยเบื้องหลังความสำเร็จนี้ คือการทำงานของกรมปศุสัตว์ร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย ผลสำเร็จที่ชัดเจนคือ ประเทศไทยส่งออกสินค้าปศุสัตว์ปีหนึ่งกว่า 2 แสนกว่าล้าน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกปี มีทั้งที่เป็นสินค้าปศุสัตว์และอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่งออกสินค้าไก่เนื้อตอนนี้ เราเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากยุโรป อเมริกา และจีน จากความเชื่อมั่นในสินค้าปศุสัตว์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ว่ามีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบแหล่งที่มา สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการกำกับดูแลสินค้าปศุสัตว์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง กรมปศุสัตว์ ดูแลทั้งห่วงโซ่อาหารเพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เริ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิต โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าและโรงแปรรูป และสถานที่จำหน่าย จนถึงมือผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร From Farm to Table โดยการควบคุม กำกับดูแล มีการตรวจสอบย้อนกลับ และให้การรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมั่นใจในสินค้าปศุสัตว์ ในแต่ละขั้นตอนมีการกำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และมีกฎหมายและระเบียบที่บังคับใช้ชัดเจน มีการทำโครงการด้านความปลอดภัยอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศมากมาย ได้แก่ 1) โครงการปศุสัตว์ OK ที่รับรองสินค้าเนื้อสัตว์และไข่ (เลือกซื้อสินค้าปลอดภัย เลือกซื้อสินค้าภายใต้สัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK”) 2) โครงการมาตรฐาน "Q" ที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านทุกขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยง โรงฆ่า และสถานที่จำหน่าย 3) โครงการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบผลิตสินค้าปศุสัตว์ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์ มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการมาก สามารถลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะลงได้ โดยที่อัตราการสูญเสียการผลิตไม่แตกต่างจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสินค้าปศุสัตว์ ผู้บริโภคมีช่องทางการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งปัจจุบันมีสถานที่จำหน่ายมากกว่า 100 แห่ง และ 4) โครงการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มสุกรและโคขุน มีการใช้ ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Lab) ในการตรวจวิเคราะห์หาสารเร่งเนื้อแดงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถปฏิบัติงานเคลื่อนที่ได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้กรมปศุสัตว์มี New Normal เช่น มีระบบ New E-movement การออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนกว่า 150,000 ราย และมีการออกใบอนุญาตผ่านระบบกว่า 600,000 ครั้ง และระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ NSW ในการขออนุญาตนำเข้าผลิต-ขายอาหารสัตว์ วัตถุอันตรายด้านปศุสัตว์ รวมทั้งการยื่นขอรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป้าหมายต่อไป กรมปศุสัตว์จะขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของประเทศให้มากขึ้น สร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้น รักษาระบบการสร้างมาตรฐานคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้าปศุสัตว์ทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง และมุ่งพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับการให้บริการประชาชนต่อไป
 ณ ห้องอัดสตูดิโอ JSL รายการเจาะใจ กรุงเทพฯ

{gallery}news_dld/2563/2563_08_04b/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว ทีมงานรองอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก