×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_11_13e/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_11_13e/

line 59618632089310
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 น. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 2/2563 พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ และนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย มกอช. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร กรมการค้าภายใน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมสุกร เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาสุกรและผลิตภัณฑ์ให้มีความสมดุล สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนต่างๆ สาระสำคัญ ดังนี้

     1. แนวทางการบริหารจัดการอุปทานสุกรในประเทศ มีการตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ควบคุมสถานการณ์ผลิต รักษาปริมาณสุกรในประเทศให้เกิดความสมดุล ลดผลกระทบด้านราคาสุกรต่อผู้เลี้ยงและผู้บริโภคให้น้อยที่สุดโดยรายงานผลต่อ รมว.กษ. และรมว.พาณิชย์ ทุก 2 สัปดาห์ มีมติให้ราคาจำหน่ายเป็นตามกลไกตลาดร่วมกับมาตรการบริหารของกระทรวงพาณิชย์ให้สมาคมพัฒนาธุรกิจสุกรไทยทำแผนการส่งออกล่วงหน้า 2 สัปดาห์ และให้ควบคุมการเคลื่อนย้ายอย่างเข้มงวด

    2. สถานการณ์การผลิตการตลาดสุกรของโลกและประเทศไทย ภาพรวมทั่วโลก 97.88 ล้านตัน ไทยผลิตได้ 22.41 ล้านตัว

    3. สถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 2563 มูลค่าการส่งออกกว่า 20,000 ล้านบาท สุกรมีชีวิต 2.19 ล้านตัว 14,900 ล้านบาท ซากสุกร 42,342 ตัน4,251 ล้านบาท และสุกรแปรรูป 5,199 ตัน มูลค่า 1,182 ล้านบาท

     4. โครงการขอใช้เงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อปรับยกระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์มสุกรรายย่อย เพื่อพัฒนาการผลิต เพิ่มคุณภาพเนื้อ ลดความเสี่ยงในการระบาดโรค ASF สร้างความยั่งยืนด้านอาชีพของเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารของประเทศไทย มีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับรายละเอียดในการกู้ยืมปลอดอกเบี้ย หรือให้เกษตรกรมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงฟาร์ม

    5. การประกันภัยสุกร เกษตรกรรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนจำนวนสุกรตั้งแต่ 20 ตัวขึ้นไป ดอกเบี้ย 275 บาท/ตัว ทุนประกัน 6,700 บาท/ตัว สุกรอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป คุ้มครองนาน 4 เดือน ต้องเป็นฟาร์ม GFM, GAP คุ้มครอง 3 ประเภท คือ การตายจากอุบัติเหตุ ตายจากภัยธรรมชาติ และตายจากการเจ็บป่วย ยกเว้นบางโรค เช่น ASF, PRRS, Mycoplasma

     6. ที่ประชุมเห็นชอบการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกสุกรไปกัมพูชา ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และกรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือแจ้งไปยังกัมพูชาเพื่อขอให้ทุกบริษัทส่งออกไปได้จนถึงสิ้นปี 2563 ระหว่างการเจรจาตกลง ซึ่งจะเร่งดำเนินการเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไปโดยเร็ว

    7. มีมติตั้งกองทุนพัฒนาธุรกิจสุกรไทย เป้าหมาย 50-100 ล้านบาท/ปี เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสุกรมีชีวิตในประเทศ ร่วมมือการสนับสนุนการดำเนินงานภาครัฐในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญหรืออุบัติใหม่ และสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยเห็นชอบหลักการแหล่งที่มาของกองทุนจากค่าธรรมเนียมตรวจโรค ค่าธรรมเนียมใบขนย้าย ค่าธรรมเนียมจองวัคซีนFMD ของกรมปศุสัตว์ ค่าธรรมเนียมการเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์และสุกรขุนจากผู้เลี้ยง เงินบริจาค ค่าธรรมเนียมการชำแหละสุกร เงินสนับสนุนจากภาครัฐและจากแหล่งสนับสนุนอื่นๆ โดยให้ทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะกรรมการฯในครั้งต่อไป

     ทั้งนี้ เพื่อรักษาสมดุลและเสถียรภาพราคาและปริมาณสุกรในประเทศไทยร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้ราคาสุกรหน้าฟาร์ม ราคาตลาด และราคาการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ เป็นตามกลไกตลาด ลดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

    ณ ห้องประชุม 134-135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพ ธงชัย สาลี สลก. ข่าว คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2563/2563_11_13e/{/gallery}