×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_12_24/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_12_24/

2563 12 24 010
วันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น.
     พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด "ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจต่อผู้ปฎิบัติงาน ร่วมป้องกันโรค ASF ในสุกรที่ยังคงต้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง" พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ทั้ง 4 ท่าน น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ เกษตรกร สมาคมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกร เป็นโรคไม่ติดต่อสู่คน เริ่มต้นระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีน 3 สิงหาคม 2561 กรมปศุสัตว์ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดำเนินการร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคม มหาวิทยาลัย นักวิชาการอิสระ หน่วยงานและองค์การสากล ได้จัดทำมาตรการและ Clinical Practice Guideline (แผนเตรียมความพร้อมในการเผชิญโรค ASF) มีการผลักดันเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ จนครม.ได้มีมติยกระดับเป็นวาระแห่งชาติในวันที่ 9 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นภารกิจร่วมกันทุกหน่วยงานของรัฐ รวมกับสมาคมและผู้ประกอบการในการดำเนินการตามหลักการและมาตรการที่กำหนด 
     นอกจากนี้ ได้ร่วมกับสมาคมและผู้ประกอบการในการสร้างศูนย์ทำความสะอาดเและฆ่าเชื้อสินค้าปศุสัตว์ตามแนวชายแดนพื้นที่เสี่ยง จำนวน 7 แห่ง  หนองคาย สระแก้ว มุกดาหาร นครพนม เชียงราย ราชบุรี (2 แห่ง) มีการปรับปรุงระบบขนถ่ายสุกร จากเวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว โดยเพิ่มระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการสร้างแท่นทอยหมูใช้ในการขนส่งจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการขนส่ง และรวมสนับสนุนเงินให้เกษตรกรรายย่อยเป็นค่าชดเชยสำหรับการพักเลี้ยงสุกร
     ส่งผลใน ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงปลอดจาก ASF ความสำเร็จดังกล่าวนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ผนึกกำลังอย่างเหนียวแน่น จนสามารถป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดกับเกษตรกรและอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมู ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ที่สำคัญยังช่วยสร้างโอกาสในการส่งออกเฉพาะปี 2563 นี้ ไทยส่งออกสุกรมีชีวิตจำนวนมากกว่า 2.2 ล้านตัว รวมถึงเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สุกร มีปริมาณมากกว่า 54,000 ตัน มีมูลค่าทะลุ 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่า 300% จากปีที่ผ่านๆ มา และล่าสุดครม. อนุมัติงบฯ กลางของสำนักนายกรัฐมนตรี วงเงิน 1,111 ล้านบาท ให้กับกรมปศุสัตว์ เพื่อใช้ป้องกัน ASF ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอร์ด) ถือเป็นการยกระดับการป้องกันที่เข้มงวดขึ้น และยังเป็นแรงหนุนสำคัญในการสร้างปราการป้องโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเข้าไทยได้ต่อไป
     ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคอย่างสำเร็จคือการทำงานร่วมกันทุกหน่วยงานในประเทศ ซึ่งต้องจับมือเฝ้าระวังกันต่อไป และขอบคุณและเป็นกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน
     ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ

{gallery}news_dld/2563/2563_12_24/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว ทีมงานรองอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก