นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนสินค้าปศุสัตว์ ปี 2561

โดยนายสัตวแพทย์ อภัย  สุทธิสังข์

อธิบดีกรมปศุสัตว์

     นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนสินค้าปศุสัตว์

          1. การดำเนินงานตามภารกิจ (Function)  กรมปศุสัตว์ กำกับดูแลกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน(Value Chain) หรือตั้งแต่ ต้นทาง จนถึง ปลายทาง เพื่อให้ได้สินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพ มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และตรงกับความต้องการของตลาด สามารถส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศปีละประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยมีภารกิจที่สำคัญในการกำกับดูแลกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ดังนี้

          ต้นทาง  การควบคุมกำกับดูแลปัจจัยการผลิต(อาหารสัตว์/พันธุ์สัตว์/พืชอาหารสัตว์/ยาสัตว์) ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและการนำเข้า ซึ่งจะต้องขออนุญาตการผลิต การเคลื่อนย้าย การตรวจสอบประเทศต้นทาง รวมถึงการติดตามการใช้ในฟาร์ม ให้มีปริมาณที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพัฒนาระบบการเลี้ยงปศุสัตว์ระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐานตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ( Oranic/GAP / GFM / ปลอดโรค)

          กลางทาง การควบคุมกำกับดูแลกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ในระดับโรงงานให้ได้มาตรฐานตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด (กฎกระทรวง / GMP / HACCP) ได้แก่ โรงฆ่าสัตว์ภายในประเทศ  โรงฆ่าและแปรรูปเพื่อการส่งออก       ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ / ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อ ฯลฯ )

          ปลายทาง การพัฒนามาตรฐานร้านค้าจำหน่ายเนื้อสัตว์ภายในประเทศ (เขียงสะอาด , ปศุสัตว์ OK ,       เนื้ออนามัย) และการรับรองผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐานสากลและตามความต้องการของประเทศคู่ค้า

          2. การดำเนินงานตามนโยบาย( Agenda )

          2.1 ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มโอกาสและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร โดยสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มการผลิต และจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกร พัฒนาระบบการเลี้ยงปศุสัตว์แบบประณีต(Intensive) ให้มีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี มีโรงเรือน และระบบการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ เพื่อให้ “ปศุสัตว์ของเกษตรกร ได้กินดี อยู่ดี” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ทั้งนี้ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินโครงการปรับโครงสร้างการผลิต(กระบือ,โคนม,ไก่พื้นเมือง) , โครงการโคเนื้อสร้างอาชีพระยะที่ 1 และ 2 , โครงการโคบาลบูรพา และอยู่ระหว่างการเสนอโครงการโคบาลสร้างอาชีพ(100,000 ตัว)  ทั้งนี้ในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ในแต่ละชนิดจะคำนึงถึงช่องทางการจำหน่ายสินค้าหรือตลาดเป็นลำดับแรก หรือ“การตลาดนำการผลิต” ซึ่งปัจจุบันปริมาณการผลิตโคเนื้อภายในประเทศไม่เพียงพอต่อการบริโภค และเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี และ รมว.กษ.

          2.2 การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่มีปัญหามาปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์  โดยเฉพาะการปรับลดพื้นที่ปลูกข้าว/ยางพารา ทั้งนี้ในปีเพาะปลูก 59/60 กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบ เป้าหมายลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 150,000 ไร่ เพื่อมาเลี้ยงโคเนื้อ , กระบือ , แพะ และปลูกพืชอาหารสัตว์  และในปีเพาะปลูก ๖๐/๖๑ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบ มีเป้าหมายลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 400,000 ไร่ เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 200,000 ไร่ และปลูกข้าวโพดเพื่อทำเสบียงอาหารหมัก    (Corn silage) 200,000 ไร่

          3. การบูรณาการระดับพื้นที่ (Area)  กรมปศุสัตว์มีหน่วยงานส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด/อำเภอ และหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาค ซึ่งร่วมบูรณาการกับทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยขับเคลื่อนงานตามนโยบายภายใต้แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด/ภาค

สรุปผลงานกรมปศุสัตว์

ผลงานการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านปศุสัตว์

  1. การปราบปรามและจับกุมลักลอบนำเข้าสัตว์และซากสัตว์
  • ช่วงปี 2557-2560 กรมปศุสัตว์ดำเนินการเร่งรัดปราบปรามจับกุมการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ มาอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2561 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 60) มีการจับกุม จำนวน 3 ครั้ง มูลค่ากว่า 7 แสนบาท ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา
  • มีการสร้างการรับรู้และเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการค้าสัตว์/ซากสัตว์ให้ดำเนินธุรกิจตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2557 2558 2559 2560 2561 รวม
จับกุมการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ (ครั้ง) 1 51 115  68 84 319 
จำนวนของกลางที่จับกุม (กิโลกรัม) 6,000 685,895 1,330,650  402,388 120,940 2,545,873
จำนวนของกลางที่ทำลายแล้ว (กิโลกรัม) 6,000 502,002 1,240,345  352,934 12,523 2,113,804
มูลค่าของกลาง (บาท) 1,020,000 62,404,520 148,568,761 51,516,186 883,300 264,392,767
  1. การปราบปรามและจับกุมโรงฆ่าสัตว์ผิดกฎหมาย
  • ช่วงปี 2557 - ปัจจุบัน (ถึง 31 ธ.ค. 60) กรมปศุสัตว์ได้เร่งรัดการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบ ปราบปราม และจับกุมโรงฆ่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายไม่มีใบอนุญาต โดยทำงานบูรณาการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
  • ในปี 2560 มีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือปรับปรุงโรงฆ่าสัตว์ และขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายรวมทั้งสัตว์ทุกตัวต้องผ่านการตรวจสอบรับรองคุณภาพและสุขอนามัยในกระบวนการฆ่าสัตว์อย่างถูกต้อง
  2557 2558 2559 2560 2561 (31 ธ.ค. 60)
จับกุมโรงฆ่าสัตว์ (ครั้ง) 1 111 213 163 19
  1. การปราบปรามและจับกุมสารเร่งเนื้อแดง
  • ประชาสัมพันธ์พร้อมเข้าตรวจสอบและสุ่มตรวจฟาร์มปศุสัตว์พบว่าแนวโน้มการตรวจพบการใช้สารเร่งเนื้อแดงลดลง
  • จากผลการตรวจสารเร่งเนื้อแดงในสุกร โคเนื้อ และอาหารสัตว์ ในปี 2557 จนถึงในปี 2560 (ถึง 31 ธ.ค. 60)พบสารเร่งเนื้อแดงลดลง แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในการไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง
  2557 2558 2559 2560
จำนวน ต.ย. ที่พบสารเร่งเนื้อแดง (%) 1,901(3.2%) 2,221(3.5%) 2,044(3.2%) 964 (1.46)
จำนวน ต.ย. ทั้งหมด 51,447 62,581 63,291 65942

 

ผลงานการส่งออกสินค้าปศุสัตว์

  • กษ. กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ ผู้ประกอบการ ได้ร่วมพัฒนาระบบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มาตรฐานโรงงานอาหารสัตว์ มาตรฐานโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ ระบบการป้องกันควบคุมโรค และระบบการตรวจสอบสอบย้อนกลับ (
  • ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับ 3 ของโลก เป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง อันดับ 1 ในเอเชีย เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์นม อันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ที่กรมปศุสัตว์ให้การตรวจสอบรับรองคุณภาพ และออกใบรับรองสุขอนามัยเพื่อการส่งออก มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.77 แสนล้านบาท และในปี 2559 มีมูลค่าการส่งออก 2 แสนล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2560-2561 จะส่งออกได้เฉลี่ยปีละ 2.2 แสนล้านบาท
  • ปี 2560 กรมปศุสัตว์ได้ผลักดันขยายการส่งออกสินค้าไข่และผลิตภัณฑ์สู่ต่างประเทศ โดยได้ดำเนินการประสานงาน เพื่อเปิดตลาดส่งออกยังประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปเพิ่มเติม ปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้ไทยส่งออกสินค้าไข่ไก่สดได้แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
  • รมว.กษ. ได้เจรจากับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเปิดตลาดส่งออกสินค้าปศุสัตว์เพิ่มมากขึ้น

            ในปี 2560 ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดสงออกสินค้าไข่ไก่สดได้เพิ่มมากขึ้น โดยส่งออกยังสิงคโปร์ตู้แรกได้ถึง 17 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท และมีการส่งออกยังเกาหลีใต้ 3 ตู้แรก ตู้ละ 325,080 ฟอง รวมปริมาณทั้งสิ้น 975,240 ฟอง

การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปเกาหลีใต้ ณ ปัจจุบัน

เดือน พฤศจิกายน 2559 ทางการเกาหลีใต้ให้การรับรองโรงงานฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ปีก จำนวน  12 แห่ง นับตั้งแต่ที่มีการระงับการนำเข้าปี 2547 โดยมีการส่งออกสินค้าตู้แรก เมื่อ 14 ธันวาคม 2559 จำนวน 15 ตัน มูลค่า 1.8 ล้านบาท ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนกับเกาหลีใต้ ดังนี้

โรงงานแปรรูป จำนวน  40 แห่ง ส่งออกรวม  20,833 ตัน  มูลค่า 2,780 ล้านบาท

โรงงานฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ปีก จำนวน  24  แห่ง  ส่งออกรวม  2,243 ตัน มูลค่า 221 ล้านบาท

การส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปสิงคโปร์ ณ ปัจจุบัน

            เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ทางการสิงคโปร์ให้การรับรองขยายขอบข่ายเนื้อสัตว์ปีกสดแช่แข็ง จากเดิมให้การรับรองโรงงานฆ่าและชำแหละเนื้อสัตว์ปีก 2 แห่ง เป็น 22 แห่ง ปัจจุบันมี โรงงานที่ได้การรับรองขึ้นทะเบียนส่งออกยังสิงคโปร์ จำนวนทั้งสิ้น 23 โรงงาน

ยอดส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ไปสิงคโปร์ ณ ปัจจุบัน

- เนื้อไก่                           ปริมาณ 16,511,338 กิโลกรัม          มูลค่า 2,460,132,196   บาท

- เนื้อเป็ด                         ปริมาณ       47,369 กิโลกรัม          มูลค่า       7,046,078    บาท

- เนื้อหมู                          ปริมาณ       94,023 กิโลกรัม.          มูลค่า     19,026,292    บาท

- เนื้อสัตว์ผสมแปรรูป           ปริมาณ      113,415 กิโลกรัม          มูลค่า     16,572,892   บาท

 

การส่งออกสินค้าไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน           

ประเทศไทยส่งออกไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังฮ่องกง มากกว่า 80% ของการส่งออกไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยในปี 2560 ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดการส่งออกไข่ไก่สดไปยังประเทศสิงคโปร์ มีการส่งออกสินค้าตู้แรก เดือนเมษายน 2560 และได้รับรองอนุญาตให้นำเข้าไข่พาสเจอร์ไรซ์ ไข่ไก่สด ยังเกาหลีใต้ได้ โดยส่งออกสินค้าตู้แรกเมื่อเดือนเมษายน และมิถุนายน 2560 ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่น (MAFF) อนุญาตให้ไทยนำเข้าไข่สดยังประเทศญี่ปุ่นได้ มีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเปิดตลาดเพื่อส่งออกยังสหภาพยุโรปเพิ่มเติม

 

  • ยอดส่งออกสินค้าไข่และผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน

- ประเทศฮ่องกง    ปริมาณ   19,784,000 กิโลกรัม    มูลค่า    987,000,000      บาท

- ประเทศเกาหลีใต้ ปริมาณ    2,608,000 กิโลกรัม    มูลค่า     132,000,000      บาท

- ประเทศสิงคโปร์   ปริมาณ       588,000 กิโลกรัม    มูลค่า      29,000,000       บาท

- ประเทศอื่นๆ       ปริมาณ       148,000 กิโลกรัม    มูลค่า        8,000,000      บาท

         รวม                       23,131,000  กิโลกรัม   มูลค่า  1,163,000,000      บาท

 

ตารางแสดงมูลค่าส่งออกสินค้าปศุสัตว์ (ข้อมูล ธ.ค.60)

มูลค่า (ล้านบาท) 2556 2557 2558 2559 2560
ซากสัตว์ 14,527 24,082 29,280 31,553 33,566
สัตว์มีชีวิต 9,724 15,323 15,147 15,406 10,809
อาหารสัตว์และอาหารปศุสัตว์ 30,000 32,907 36,459 36,115 35,344
อาหาร Non-frozen 18,931 18,932 19,263 15,733 17,775
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์แปรรูป 77,266 85,935 95,526 102,093 103,661
รวมทั้งสิ้น 150,448 177,179 195,675 200,900 201,155

ผลงานการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์

  • ปี 2560 กษ. เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน กรมปศุสัตว์ได้ริเริ่มดำเนินโครงการ
    “ปศุสัตว์ OK” เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตเนื้อสัตว์และกระตุ้นเกษตรกร ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ และสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ปรับปรุงคุณภาพให้มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
  • โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์ได้รับการตรวจประเมินให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฯ 2,291 แห่ง จากเป้าหมาย 2,264 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 101.19 ซึ่งมีผลงานเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2560 เนื่องจากมีจำนวนโรงฆ่าสัตว์ที่ตั้งใหม่เพิ่มขึ้น
  • ปี 2561 โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์ได้รับการตรวจประเมินให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฯ 113 แห่ง จากเป้าหมาย 2,300 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.91
  • รับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ (ปศุสัตว์ OK ) ไปแล้วจำนวน 3,994 แห่ง จากเป้าหมาย 4,000 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.85
  • ผลการสุ่มตรวจสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จากแผนเฝ้าระวังสารตกค้างปี 2559 มีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 11,080 ตัวอย่าง  พบการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะเพียง 25 ตัวอย่าง (
  • ฟาร์มปศุสัตว์ มีเป้าหมายการรับรองมาตรฐานฟาร์มในปี 2561 จำนวน 16,202 ฟาร์ม
ชนิดสัตว์ ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561
จำนวนฟาร์ม จำนวนสัตว์ จำนวนฟาร์ม จำนวนสัตว์ จำนวนฟาร์ม จำนวนสัตว์ จำนวนฟาร์ม จำนวนสัตว์ จำนวนฟาร์ม จำนวนสัตว์
สถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก 94 จำนวนลูกไก่ต่อสัปดาห์ 68 จำนวนลูกไก่ต่อสัปดาห์ 81 จำนวนลูกไก่ต่อสัปดาห์ 83 จำนวนลูกไก่ต่อสัปดาห์ 83 จำนวนลูกไก่ต่อสัปดาห์
47,350,832 36,500,739 38,194,432 38,349,617 38,429,617
ไก่พันธุ์ 228 76,000,271 206 24,180,970 209 24,747,603 222 25,748,166 224 26,072,046
ไก่เนื้อ 5,770 252,836,862 5,834 299,387,861 6,213 322,172,081 6,384 335,773,135 6,430 339,463,592
ไก่ไข่ 1,803 56,287,545 1,430 46,916,135 1,523 59,513,200 1,548 61,808,153 1,533 62,819,839
เป็ดพันธุ์ 25 452,647 19 260,676 22 322,499 26 519,740 25 519,140
เป็ดเนื้อ 363 8,658,152 260 7,180,215 267 9,111,489 269 9,191,289 272 9,387,589
เป็ดไข่ 10 194,000 6 125,000 11 395,000 12 388,500 12 388,500
โคเนื้อ 371 6,005 205 24,417 211 21,101 210 20,902 177 20,156
โคนม 4,912 153,365 3,014 161,193 4,065 120,497 5,125 190,115 5,125 190,115
สุกร 3,415 6,059,716 2,637 5,553,502 2,961 5,709,837 3,278 6,609,565 3,325 6,755,160
นกกระทา 9 1,498,000 21 2,914,000 23 2,830,000 24 2,430,000 24 2,430,000
แพะเนื้อ 105 5,562 204 10,395 206 18,439 188 14,740 170 13,243
แกะเนื้อ 3 602 9 1,215 13 1,744 13 1,744 13 1,744
ผึ้ง 430 76,015 271 72,833 303 74,481 319 76,491 323 76,729

นกเขา

ชวาเสียง

2 650 0 0 0 0 0 0 0 0
แพะนม 7 514 10 732 7 325 14 545 14 545
รวม 17,547 449,580,738 14,194 423,289,883 16,115 463,232,728 17,712 481,061,277 17,750 486,568,015

 

ผลงานปศุสัตว์อินทรีย์

มาตรฐานสินค้าเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย

  • เล่ม 1 – 2552 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก  และจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
  • แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เล่ม 1 (
  • เล่ม 2 – 2555 : ปศุสัตว์อินทรีย์
  • เล่ม 6 – 2566 : ผึ้งอินทรีย์

ขอบข่ายการรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ มีทั้งหมด 7 ขอบข่าย

  • ระบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
  • ระบบการผลิตผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์
  • ระบบการผลิตผึ้งอินทรีย์
  • ระบบการผลิตผลิตภัณฑ์ผึ้งอินทรีย์
  • ระบบการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรีย์
  • ระบบการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูปอินทรีย์
  • ระบบการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์

ผลงานการรับรองของกรมปศุสัตว์ในปัจจุบัน ให้การรับรองปศุสัตว์อินทรีย์จำนวนรวม 153 แห่งภายใต้ตราสัญลักษณ์ DLD ORGANIC มีรายละเอียด ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560)

ขอบข่าย จำนวน (แห่ง) จังหวัดที่ได้รับรอง
ระบบการผลิตโคนมและน้ำนมดิบอินทรีย์ 8 สระบุรี (7 ฟาร์ม) นครราชสีมา (1 ฟาร์ม)
ระบบการผลิต ผลิตภัณฑ์น้ำนมพาสเจอไรซ์อินทรีย์ 1 นครราชสีมา (1 โรงงาน)
ระบบการผลิตไก่พื้นเมืองอินทรีย์ 5

นครปฐม (1 ฟาร์ม) อำนาจเจริญ (2 ฟาร์ม)

นครศรีธรรมราช (1 ฟาร์ม) เชียงราย

(1 ฟาร์ม)

ระบบการผลิตไก่งวงอินทรีย์ 1 มหาสารคาม (๑ ฟาร์ม)
ระบบการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่อินทรีย์ 134

ลำปาง (1 ฟาร์ม) เชียงราย (๔๘ ฟาร์ม) นครนายก (1 ฟาร์ม) อำนาจเจริญ (8 ฟาร์ม)

ระยอง (1 ฟาร์ม) ยโสธร (74 ฟาร์ม)

(อุทัยธานี 1 ฟาร์ม)

ระบบการผลิตไก่เนื้ออินทรีย์ 1 ลำปาง (1 ฟาร์ม)
ระบบการผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่อินทรีย์ (โรงฆ่า) 1 เชียงราย (1 โรงงาน)
ระบบการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ (ปลาป่น) 2 ระนอง (2 โรงงาน)
ระบบการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ 1 นครราชสีมา (1 ฟาร์ม)
รวม 154 153

 

 

 

  1. โครงการบูรณางานการส่งเสริมและการตรวจสอบสินค้าเกษตร (กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร)
  • ลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ผัก ผลไม้ สินค้าประมง และเนื้อสัตว์ ณ สถานที่จำหน่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร จากหน่วยงานของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (“สินค้า Q” และ “ปศุสัตว์ OK”) ดังนี้

-          กิจกรรมปีใหม่สุขใจ กระทรวงเกษตรฯ ใส่ใจผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 22-27 ธ.ค. 59

-          กิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคเนื้อสัตว์เทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 16-20 ม.ค. 60

-          กิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคเนื้อสัตว์เทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 1-7 เม.ย. 60

-          กิจกรรมตรวจสอบตลาดสดแบบบูรณาการในช่วงเทศกาลสารทจีน ระหว่างวันที่ 28 สค – 5 กย.60

 

 ตารางแสดงผลการดำเนินการในโครงการสามประสานบูรณาการตรวจสอบสินค้าผักผลไม้ ประมง ปศุสัตว์

รายการ ผักผลไม้ สินค้าประมง สินค้าปศุสัตว์
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ 151 299 5,853
ร้อยละที่ผ่านเกณฑ์ 65.56 97.70 80.98
  • กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร ได้มีแผนกิจกรรมประจำปีงบประมาณ 2561 ใน 2 เทศกาล คือ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลสารทจีน และเป็นการดำเนินงนของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในพื้นที่ 79 จังหวัด ทั่วประเทศ
  • กรมปศุสัตว์เร่งสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เรื่องลดการใช้ยาในสัตว์ สารตกค้างในเนื้อสัตว์ และเข้มงวดการตรวจสอบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงฆ่าสัตว์
  • สินค้าเกษตรที่ได้รับการสุ่มตรวจหาสารตกค้างเพื่อเฝ้าระวังด้านมาตรฐานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ สินค้าเกษตรที่ไม่ผ่านการตรวจด้านมาตรฐาน ดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบย้อนกลับข้อเท็จจริง และให้คำแนะนำเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าเกษตรให้ถูกหลัก พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาการผลิตให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงบังคับใช้กฎหมายแก่เกษตรกร ที่เจตนากระทำความผิดต่อไป

ผลงานแปลงใหญ่ปศุสัตว์

  • ช่วงปี 2557-2560 สนับสนุนพันธุ์สัตว์ช่วยเหลือเกษตรกร โค-กระบือ จำนวนทั้งสิ้น 62,328 ตัว และสัตว์ปีก 2,682,900 ตัว
  • ปี 2559-2560 ได้ดำเนินการจัดตั้งแปลงใหญ่ปศุสัตว์ จำนวน 147 แปลง 
  • ปี 2561 ได้ดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบแปลงใหญ่ จำนวน 83 แปลง 

ผลการดำเนินการถึงปัจจุบัน  ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ จำนวน 147 แปลง ซึ่งได้รับการรับรองแปลงจาก Single Command และบันทึกข้อมูลลงในระบบของ Big Farm ของกรมส่งเสริมการเกษตรแล้วคาดว่าในปีงบประมาณ 2560 กรมปศุสัตว์จะสามารถผลักดันให้มีแปลงใหญ่ที่ผ่านการรับรองจาก SC จังหวัดได้เพิ่มขึ้นรวมสะสมไม่น้อยกว่า 100 แปลง

ผลงานด้านการส่งเสริมและแจกจ่ายพันธุ์สัตว์

ชนิดสัตว์ (ตัว) 2557 2558 2559 2560 2561
โค-กระบือ(ธนาคารโค-กระบือตามพระราชดำริ / เป้าหมายปีละ 9,000 ตัว) 9,999 13,058 15,545 19,074 ตัว 3,806 ตัว
กระบือ (โครงการอนุรักษ์กระบือ) - เงินกู้ระยะเวลาปี58-62 (เป้าหมาย 10,000 ตัว) - 6,333 3,690

แม่กระบือ 10,023 ตัว

ลูกเกิด 17,478 ตัว

 

โค (โคเนื้อสร้างอาชีพ ระยะที่ 1) - เงินกู้ระยะเวลาปี59-65

(เป้าหมาย 2,000 ตัว)

- - 539 1,765 ตัว 1,903 ตัว
*สัตว์ปีก (โครงการอนุรักษ์สัตว์ปีกพื้นเมืองและช่วยเหลือภัยแล้ง/อุทกภัย) - 400,620 1,932,280 -  
**สัตว์ปีก (โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ /ประชารัฐ) - - -

350,000

(ต.ค 59- ก.พ60)

 

หมายเหตุ **โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ในปี 60/61 กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายดำเนินการต่อเนื่องโดยขับเคลื่อนจากcell ต้นกำเนิดอีกจำนวน70,000 ราย จำนวนสัตว์ปีก 350,000 ตัว

 

ผลงานการสนับสนุนโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ

  2557 2558 2559 2560

โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

ตามพระราชดำริฯ

       
  - จำนวนโรงเรียนที่สนับสนุนการดำเนินงาน (โรงเรียน) 500 500 506 511
  - จำนวนสัตว์ที่ส่งเสริม (ตัว) 10,570 10,305 14,164 5,585
โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตปศุสัตว์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ        
  - จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ (โรงเรียน) 100 100 100 100
  - จำนวนสัตว์ที่ส่งเสริม (ตัว) 14,550 - - -
  - จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ (คน) - 10,589 4,914 -
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียนฯ        
  - จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ (โรงเรียน) - 101 -  
  - จำนวนสัตว์ที่ส่งเสริม (ตัว) - 7,500 -  
  - ผลผลิตไข่ได้รับเมื่อ จบรุ่นเลี้ยง  (ฟอง) - 715,951 -  
  - เงินกองทุนเมื่อจบรุ่น (บาท) - 373,106 -  
 โครงการไก่ไข่พระราชทานในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร พื้นที่จังหวัดตาก        
  - จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ (โรงเรียน) - 22 25 13
  - จำนวนสัตว์ที่ส่งเสริม (ตัว) - 1,120 1,240 770
  - ผลผลิตไข่ได้รับเมื่อ จบรุ่นเลี้ยง  (ฟอง) - 165,868

129,973

 

อยู่ในช่วงการให้ไข่ยังไม่จบรุ่น2,454 ฟอง
  - เงินกองทุนเมื่อจบรุ่น (บาท) - 528,830 321,988 ดำเนินการจัดตั้งกองทุนอยู่

 

ผลการดำเนินงานพัฒนาอาหารสัตว์ ประจำปีงบประมาณ 2557 – 2560

พัฒนาอาหารสัตว์ หน่วยนับ 2557 2558 2559 2560 2561
รวมทั้งสิ้น 64,537,052 59,668,243 69,456,723 64,957,981 13,214,913
ผลิตเมล็ดพันธุ์อาหารสัตว์ ในศูนย์/สถานี กิโลกรัม 86,113 85,311 92,386 84,216 6,285
ผลิตท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ กิโลกรัม 4,847,774 5,201,435 5,125,589 5,292,783 672,990
ผลิตเสบียงอาหารสัตว์ กิโลกรัม 5,976,482 5,898,374 5,458,195 6,220,700 2,299,545
พัฒนาอาชีพผลิตพันธุ์พืชอาหารสัตว์ กิโลกรัม 52,026,683 48,483,123 58,780,553 53,360,282 10,236,093
ผลิตพืชอาหารสัตว์ในเขตปลอดโรค FMD กิโลกรัม 1,600,000        

 

 

ผลการดำเนินงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์ ประจำปีงบประมาณ 2557 – 2560

 
ความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์ หน่วยนับ 2557 2558 2559 2560 2561
รวมทั้งสิ้น     593 1,190 200
ปรับปรุงพันธุ์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพพืชอาหารสัตว์ สายพันธุ์     410 410 63
ขึ้นทะเบียนสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น สายพันธุ์     175 87 0
ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงไทย สายพันธุ์     8 5 0
ครอบครองเชื้อจุลินทรีย์ด้านปศุสัตว์ สายพันธุ์       688 137

 

ผลการดำเนินงานการผลิตปศุสัตว์พันธุ์ดี ประจำปีงบประมาณ 2557 – 2560

ชนิดสัตว์ หน่วยนับ ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561
1. โดยการผสมเทียม  
โคเนื้อ ตัว 228,566 227,718 242,835 223,299 46,315
โคนม ตัว 108,249 105,631 98,018 93,489 17,033
กระบือ ตัว 15,434 16,957 17,365 25,876 768
แพะ ตัว 1,377 1,687 2,309 3,127 571
สุกร ตัว 48,646 57,341 47,131 58,244 9,388
2. โดยการปรับปรุงพันธุ์สัตว์  
โคเนื้อ ตัว 1,966 2,009 2,305 1,994 575
โคนม ตัว 425 336 427 385 96
กระบือ ตัว 394 98 84 147 86
แพะ ตัว 1,232 1,489 1,470 1,526 281
แกะ ตัว 631 1,476 565 522 147
สุกร ตัว 19,197 13,436 16,412 18,470 3,488
กวาง ตัว 104 109 163 220 81
สัตว์ปีก (ไก่ ห่าน นกกระทา เป็ด ) ตัว 1,714,247 1,732,212 1,821,633 1,834,577 277,392