โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS) เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MERS CoV ในประเทศไทยเรียกว่าโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome ; MERS) ที่มีคำว่า “ตะวันออกกลาง” เพราะเชื้อนี้พบครั้งแรกและระบาดในประเทศแถบตะวันออกกลาง 9 ประเทศ คือ จอร์แดนคือซาอุดิอาระเบีย  กาตาร์  สหรัฐอาหรับเอมิเคตส์  รวมถึงประเทศในแอฟริกาเหนือ  คือ ตูนิเซีย  ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าไวรัสสายพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดจากแหล่งใดแพทย์บางรายสันนิษฐานว่า เชื้ออาจมาจากอูฐ แพะ หรือทั้งค้างคาว ผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวซาอุดิอาราเบีย  ต่อมาระบาดไปยังประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี  อิตาลี  และล่าสุดเกิดการระบาดของโรคที่ประเทศเกาหลีใต้ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย

 ผู้ป่วยมีอาการหลัก คือ อาการทางระบบทางเดินหายในเฉียบพลันร่วมกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ ผู้ป่วยมีอาการไอ เป็นไข้ ปอดบวม หายใจลำบาก เชื้อไวรัสเมอร์สนี้จะแพร่ระบาดจากคนสู่คน กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการป้องกันในเรื่องนี้ โดยให้คำแนะนำก่อนเดินทางให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดโดยไม่จําเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค หากจําเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่แออัด ผู้มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการป่วยอาจพิจารณาการใส่หน้ากากอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หากมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ให้ใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น และคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง เพื่อประโยชน์ในการติดตามผู้ป่วยกรณีเกิดการระบาด หากพบผู้โดยสารมีอาการผิดปกติโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) เช่น อาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก และถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที

           เชื้อไวรัสเมอร์สนี้จะแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วจากคนสู่คนเท่านั้น และสามารถระบาดไปยังคนที่ไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ด้วย  รายงานแพทย์ระบุว่าผู้ติดเชื้อรายหนึ่งได้แพร่เชื้อให้แก่เหยื่อถึง 7 ราย รวมทั้งเพื่อนผู้ป่วยอีกหลายรายในโรงพยาบาลเดียวกัน และเมื่อเทียบกับโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตซึ่งอยู่ที่ระดับ 65 เปอรเซนต์ ขณะนี้ วงการแพทย์ยังไม่รู้แน่ชัดว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดจากแหล่งใด แพทย์บางรายสันนิษฐานว่า เชื้ออาจมาจากอูฐ แพะหรือทั้งค้างคาว ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษต่อธัญญพืชที่ปลูกในซาอุดิอาระเบีย

 

สถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์ในต่างประเทศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลกภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (Western Pacific Region :WPRO) ประเทศเกาหลีใต้ พบผู้ป่วยทั้งสิ้นรวม 165 ราย (เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 3 ราย) เป็นผู้ป่วยที่เดินทางไปประเทศจีน 1 ราย เสียชีวิต 23 ราย

 

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย เป็นเพศชาย อายุ 75 ปี เป็นชายชาวตะวันออกกลาง เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด ไม่มีประวัติสัมผัสอูฐหรือดื่มนมอูฐ  เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 มีผู้ร่วมเดินทางอีก 3 คน ผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคหัวใจ  เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 โดยมีอาการ อ่อนเพลีย ไอ หายใจลำบาก แต่ไม่มีไข้เข้ารับการรักษาแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงตัดสินใจมารักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย  วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ทางโรงพยาบาลรับไว้เป็นผู้ป่วยใน ให้การรักษาในห้องแยกโรคความดันลบทันทีที่รับไว้ ในโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นเป็นโรคปอดอักเสบ ส่งตัวผู้ป่วยต่อไปที่สถาบันบำราศนราดูร  ส่งตัวอย่างตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันบำราศนราดู กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลตรวจยืนยันพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส และ ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการรักษาในห้องแยกความดันลบที่สถาบันบำราศนราดูร อาการทรงตัว

 

ด้านการดำเนินการเกี่ยวกรณีที่ผ่านมาของกระทรวงสาธารณสุข นั้น วันที่ 18 มิถุนายน 2558 ได้ทำการย้ายผู้ป่วย และผู้สัมผัสในครอบครัวทั้ง 3 คนมารับการรักษาตัวและ แยกกักกันตัวที่สถาบันบำราศนราดูร  ค้นหา และคัดแยกผู้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายนี้ โดยแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ โดย ให้หยุดงานและสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน  ค้นหาติดตามผู้เดินทางที่เดินทางร่วมเที่ยวบินกับผู้ป่วยเพื่อจะทำการติดตามอาการทุกวันเป็นเวลา 14 วัน  ค้นหาและคัดแยกผู้สัมผัสในชุมชน  

ส่วนการดำเนินการเฝ้าระวังโรคเมอร์สในสัตว์ นั้น ทางด้านสัตว์เนื่องจากพบว่าเชื้ออาจมีต้นกำเนิดมาจากอูฐ หรือค้างคาว มีการตรวจพบเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และยังไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อนี้ในสัตว์อื่น กรมปศุสัตว์ องค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการสำรวจสภาวะโรคนี้ในอูฐในประเทศไทยรายละเอียด ดังนี้              

1. จำนวนอูฐที่มีอยู่ในประเทศไทย มีประมาณ 80 ตัว อูฐที่อยู่ในสวนสัตว์ภาครัฐ อยู่ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ฯ จำนวนประมาณ 21 ตัว อูฐที่อยู่ในสวนสัตว์เอกชน อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานฯ จำนวนประมาณ 21 ตัว และ อูฐที่อยู่ในศูนย์บำรุงพันธุ์ กรมปศุสัตว์ และในสวนสัตว์จัดแสดง (Petting zoo) อยู่ในความดูแลของกรมปศุสัตว์ ประมาณ 38 ตัว

 

2. การเก็บตัวอย่างเลือด (Whole blood) และซีรั่มเพื่อตรวจหาโรค Mers-CoV และโรคอื่นๆที่มีความสำคัญในอูฐ เช่น Melioidosis, Brucellosis, Trypanosomosis, Babisiosis, Anaplasmosis และ Leptospirosis โดยองค์การสวนสัตว์ กรมอุทยานฯ และกรมปศุสัตว์ ดำเนินการเก็บตัวอย่างสัตว์ตระกูลอูฐในประเทศไทย เก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 89 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากอูฐ 72 ตัว อัลปาก้า 12 ตัว และลามะ 5 ตัว ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลตรวจโรค โดยตัวอย่างทั้งหมดให้ผลลบ 

 

กิจกรรมการเฝ้าระวังโรคของกรมปศุสัตว์ กรมอุทยานฯ องค์การสวนสัตว์ฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ดำเนินการในประเทศไทย มีดังนี้ 

          1. การเฝ้าระวังโรค โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (MERS-CoV) ในประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์ ร่วมกับ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บตัวอย่างอูฐ อัลปากา และลามาในสวนสัตว์ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์เอกชน เพื่อตรวจหาไวรัส Mers-CoV เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 89 ตัวอย่าง ผลการตรวจให้ผลเป็นลบทั้งหมด

 

          2. เฝ้าระวังในคนเลี้ยงอูฐ และอัลปาก้า ตราบใดที่ยังไม่มี case คนป่วย ที่มาจากตะวันออกกลางไปปล่อยเชื้อใส่อูฐ

 

          3. เฝ้าระวังคนไทยที่กลับจากตะวันออกกลาง และประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้อยู่

 

          4. พัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการเพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างทันท่วงที 

 

**********************          

 ข้อมูล : ศูนย์พัฒนาระบบงานระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์

 

            สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์