×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2561/2561_06_26a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2561/2561_06_26a/

2561 06 26a 001

(วันนี้ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 09.00 น.) นายอำพันธุ์ เวฬุตันติรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการโคบาลบูรพาเพื่อติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานตามโครงการฯ ณ ห้องประชุมลีลาวดี 1 ชั้น 6 ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์

           นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตามโครงการด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการจะได้ช่วยกันพิจารณาแก้ไขปัญหาเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างราบรื่นและสำเร็จผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งโครงการโคบาลบูรพา กระทรวงเกษตรฯ ต้องการสร้างอาชีพทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช ในพื้นที่ไม่เหมาะสม มาเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก 3 อำเภอ ของจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ อ.อรัญประเทศ อ.โคกสูง และ อ.วัฒนานคร พร้อมทั้ง พัฒนาให้จังหวัดสระแก้วเป็นเมืองแห่งปศุสัตว์ “โคบาลบูรพา” ที่สำคัญของประเทศ สำหรับผลการดำเนินการตามโครงการที่สำคัญ ได้แก่

           1. กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงแม่โคเนื้อผลิตลูก โดยอุดหนุนแม่โคเนื้อให้เกษตรกร 6,000 รายๆ ละ 5 ตัว รวมแม่โคเนื้อ 30,000 ตัว ปัจจุบันมีการส่งมอบแม่พันธุ์โคเนื้อไปแล้ว จำนวน 11,693 ตัว คงเหลือ จำนวน 18,307 ตัว ซึ่งผู้ประกอบการยืนยันว่าสามารถส่งมอบโคที่เหลือเสร็จตามสัญญาภายในเดือน ต.ค. 61 และแม่โคตามโครงการได้รับการผสมทียมไปแล้ว 1,024 ตัว และมีลูกเกิดแล้ว รวม 87 ตัว

            2. กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงแพะพันธุ์ดี โดยอุดหนุนพันธุ์แพะเนื้อให้เกษตรกร 100 รายๆ ละ 32 ตัว (เพศเมีย 30 ตัว และเพศผู้ 2 ตัว) รวมแพะเนื้อ 3,200 ตัว ปัจจุบันมีการส่งมอบแพะครบตามเป้าหมายแล้ว รวม 3,200 ตัว และมีลูกเกิดแล้ว รวม 17 ตัว

               โดยการประชุมครั้งนี้ ได้มอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งรัด เอาใจใส่ในส่วนที่รับผิดชอบ เพื่อทำให้โครงการนี้เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งโดยการใช้ปศุสัตว์เข้าไปแก้ปัญหาให้เกิดอาชีพที่มีความมั่นคงและยั่งยืน สามารถขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป

ข้อมูล/ข่าว : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

ภาพข่าว ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ สลก. 26มิย.61

{gallery}news_dld/2561/2561_06_26a/{/gallery}