×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2561/2561_12_24/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2561/2561_12_24/

2561 12 24 001
วันที่ 24 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 น. 
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ครั้งที่ 1/2561 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาอธิบดีด้านสุกร ผอ.สำนักควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ผอ.สถาบันสุขภาพสัตว์ ผอ.กองสารวัตรและกักกัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     เนื่องด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบอย่างมากในอุตสาหกรรมสุกร กรมปศุสัตว์จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 2 คณะ ดังนี้
     1. คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฎิบัติการการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room)
     2. คณะทำงานศูนย์ปฎิบัติการการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) ประกอบด้วย 8 คณะทำงานย่อย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)ในสุกรของประเทศไทย ทั้งด้านก่อนเผชิญเหตุ (เน้นการมีส่วนร่วม การเฝ้าระวังเตือนภัยและการป้องกันโรค) ระยะเผชิญเหตุ (เน้นการจัดการและการตอบสนอง) และระยะหลังเผชิญเหตุ (เน้นการฟื้นฟูและการพัฒนา ลดการเกิดอุบัติซ้ำ) ประกอบด้วย 8 ด้าน 
     2.1 คณะทำงานด้านการป้องกันโรคเข้าประเทศและควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกร ขับเคลื่อนด้านการป้องกันโรคแก่ประเทศเชิงบูรณาการ
     2.2 คณะทำงานด้านข้อมูล สารสนเทศและสอบสวนโรค ขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการและขับเคลื่อนมาตรการ
     2.3 คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันโรคของฟาร์ม ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม
     2.4 คณะทำงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารความเสี่ยง
    2.5 คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรค ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรค
    2.6 คณะทำงานด้านเครือข่ายห้องปฎิบัติการ ขับเคลื่อนด้านการพัฒนา การตรวจวินิจฉัยและสร้างเครือข่ายห้องปฎิบัติการ
     2.7 คณะทำงานด้านการควบคุมโรค ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาการควบคุมโรค
     2.8 คณะทำงานด้านการฟื้นฟูเกษตรกร ขับเคลื่อนด้านการจัดการฟื้นฟูเกษตรกร
     ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานเน้นการควบคุม ป้องกันการเกิดโรค การดำเนินการมาตรการรองรับเตรียมความพร้อม มีการทำป้ายเตือนหลายภาษาให้มีความตระหนักห้ามนำสินค้าต้องห้ามที่ประกาศห้ามนำเข้ามาในไทยที่ด่าน วางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทที่ชัดเจนของผู้มีส่วนร่วม (stakeholders) ในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน 
     นอกจากนี้กรมปศุสัตว์จะมีการแถลงข่าวการดำเนินการและความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในความเข้มงวดและร่วมมือการดำเนินการในการตรวจสอบสินค้า ในวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 ต่อไป
     ณ ห้องประชุมม้ากัณฐกะ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2561/2561_12_24/{/gallery}

ภาพข่าว ทีมงานอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ /  สลก