×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_05_01a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_05_01a/

2563 05 01a 001
วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.30 น.
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ในรูปแบบ GIN Conference พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ปศุสัตว์เขต 1-9 ปศุสัตว์จังหวัด ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
     เนื่องจากโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) พบการระบาดในหลายพื้นที่ในประเทศไทย โดยพบการระบาดครั้งแรกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โรคนี้ก่อให้เกิดความเสียหายในม้าและผู้เลี้ยงม้าเป็นจำนวนมาก กรมปศุสัตว์จึงได้ทำแผนปฏิบัติการในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันและกำจัดโรค AHS และเร่งให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์จำกัดพื้นที่การเกิดโรคอย่างเคร่งครัด "รู้เร็ว สงบโรคเร็ว" สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
     1. วิเคราะห์สถานการณ์โรค AHS ของแต่ละจังหวัดที่พบการระบาดของโรคใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชลบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสระบุรี มีจังหวัดใกล้เคียงในรัศมี 50 กิโลเมตร จำนวน 10 จังหวัด 
     2. รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานควบคุมโรค AHS ใน 8 จังหวัด เช่น การติดตั้งมุ้งกันแมลงพาหะ การฉีดวัคซีน การเฝ้าระวังเก็บตัวอย่าง การตั้งจุดตรวจเข้มงวดในการเคลื่อนย้าย การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงม้า และการดำเนินงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
     3. ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข จะเร่งดำเนินการแก้ไขและติดตามผลต่อไป
     4. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค AHS ให้เฝ้าระวังโรค มีการสังเกตอาการทุกวัน วัดอุณหภูมิเช้า-เย็น (วันละ 2 ครั้ง) เร่งกำจัดแมลงพาหะ กางมุงและนำม้าเข้าโรงเรือนหรือคอกที่มีมุ้ง และให้ติดตามสถานการณ์ทำรายงานทุกวัน
     ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุม เฝ้าระวังและป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) อยู่ในวงพื้นที่ที่จำกัด "รู้เร็ว สงบโรคเร็ว" บูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน และเน้นย้ำให้ทุกจังหวัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดมีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกัน โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดงบประมาณไว้ 10 ล้านบาท สำหรับการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรค การซื้อมุ้งกันแมลงพาหะ และน้ำยาฆ่าแมลง เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
     ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2563/2563_05_01a/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว ทีมงานอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก