ปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักรที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิมาแทนที่แรงงานโคเนื้อ และเนื้อโคคุณภาพดียังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน  การเลี้ยงโคขุนยังเป็นการการส่งเสริมผลิตเนื้อโค ทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศได้อีกด้วย

 

การเลี้ยงโคขุน คือ การเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยได้รับอาหารที่มีคุณภาพดี และการให้อาหารข้นเพิ่มเติม ทำให้โคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้เนื้อที่มีคุณภาพดี แต่การเลี้ยงโคขุนก็มีข้อพิจารณาก่อนตัดสิ้นใจเลี้ยงเช่นกัน การที่จะเลี้ยงโคขุนเพื่อให้ได้กำไรนั้น จะต้องพิจารณาและตอบคำถามต่างๆ ต่อไปนี้ว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาเหล่านี้ ท่านก็จะสามารถเลี้ยงโคขุนได้โดยไม่ขาดทุน และหากยอมรับข้อพิจารได้ท่านจะสามารถเลี้ยงโคขุนได้อย่างแน่นอน

1. ท่านรักโคขุนหรือไม่

2. มีปัญหาทางสังคมหรือไม่

3. มีทุนพอหรือไม่

4. หาโคที่ดีมาขุนได้หรือไม่

5.มีปัญหาเรื่องอาหารโคหรือไม่

6. มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงโคขุนมากพอหรือไม่

7. มีเวลาดูแลกิจการพอหรือไม่

8. มีลู่ทางเรื่องตลาดหรือไม่ 

 

วิธีการขุนโคเนื้อ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การขุนด้วยการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียว โดยจะได้รับหญ้าสดที่มีคุณภาพดี การขุนวิธีนี้จะไม่แตกต่างจากโคทั่วไป  จะได้เนื้อที่ไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร แต่ข้อดีคือการขุนวิธีนี้ใช้ต้นทุนต่ำ และการขุนด้วยอาหารหยาบ เสริมด้วยอาหารข้น

 

วิธีนี้เป็นการขุนโคที่ต้องลงทุนสูง เพื่อมุ่งให้ได้เนื้อโคขุนคุณภาพดีส่งขายให้กับตลาดเนื้อชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3 แบบ

1. การขุนโคอ่อน เป็นโคที่เริ่มขุนตั้งลูกโคอายุ 1 สัปดาห์ ไช้เวลาขุนจนลูกโคมีอายุ 6-8 เดือน

2. การขุนโคเมื่อโคมีอายุ ประมาณ 1ปีครึ่ง หรือมีน้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 6 เดือน ให้ได้น้ำหนัก 400-450 กิโลกรัม เป็นรูปแบบที่นิยมอย่างแพร่หลาย

3. การขุนโคที่มีอายุมาก หรือ โคโตเต็มไว ส่วนมากจะเป็นโคปลดจากการใช้แรงงาน จะขุนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อบางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มไขมันหุ้มซากโดยไม่สนใจไขมันแทรกในเนื้อ จะใช้เวลาขุนประมาณ 3 เดือน

 

คอกโคขุน ลักษณะและขนาดของคอกโคขุนย่อมแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพสถานที่และขนาดของกิจการ สถานที่ ควรเป็นที่ดอน ระบายน้ำได้ดี หรืออาจจะต้องถมพื้นที่ให้สูงกว่าระดับปกติไม่ให้น้ำขังในฤดูฝน ควรให้ความยาวของคอกอยู่ทางทิศตะวันออก - ตะวันตก และวางแผนให้สามารถขยายกิจการได้ในอนาคต ขนาดของคอก พื้นที่คอกควรมีพื้นที่ให้เหมาะสมกับขนาดของโค โคเล็กควรมีพื้นที่ 6 ตารางเมตรต่อตัว โคใหญ่ ควรมีพื้นที่ 8 ตารางเมตรต่อตัว พื้นคอก สามารถเทคอนกรีตทั้งหมดได้ก็ดี พื้นคอนกรีตหน้า 7 เซนติเมตร หากต้องการให้รถไถ เข้าไปในคอกได้ จำเป็นต้องเทคอนกรีตให้หนา 10 เซนติเมตร และผูกเหล็กหรือไม้รวก ผิวหน้าคอนกรีต ควรทำให้หยาบ พื้นคอกส่วนใหญ่ใต้หลังคาควรปูด้วยวัสดุที่ซับความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด เป็นต้น หลังคา สร้างได้ด้วย กระเบื้อง สังกะสี จาก หรือแผก ควรมุงหลังให้สูงประมาณ 250 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่านั้นโคจะกัดกินหลังคา เสาคอก สร้างได้ด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้สน เหล็ก  ท่อแป๊บ หรือ คอนกรีต รั้วกั้นคอก สร้างได้จาก ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้สน ท่อแป๊บ รางอาหาร ควรสร้างให้สูงประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้ารางอาหารเล็กไปจะมีปัญหาเรื่องอาหารตกหล่น โคขุนระยะแรกต้องการรางอาหารควรยางประมาณ 50 เซนติเมตรต่อโคขุน 1 ตัว และประมาณ 65 เซนติเมตร ในระยะปลาย อ่างน้ำ อ่างน้ำควรอยู่ในจุดต่ำสุดของคอก หรือวางอยู่นอกคอกแล้วทำช่องโผล่หัวออกไปดื่มได้ ขนาดอ่างน้ำควรคำนวณให้บรรจุน้ำได้เพียงพอสำหรับโคทุกตัวในคอก โค 1 ตัวจะดื่มน้ำประมาณ 50-30 ลิตร  มุ้ง ในบริเวณที่มียุง หรือแมลงวันรบกวน มุ้งมีความจำเป็น

 

อาหารที่ใช้เลี้ยงโคขุนได้แก่ อาหารหยาบ และอาหารข้น 

อาหารหยาบ คืออาหารที่เยื่อใยสูง โปรตีนต่ำ อาหารหยาบได้มาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ 1.หญ้า อาจได้จากทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ หรือจากการทำแปลงหญ้า การเลี้ยงโคขุนควรทำแปลงหญ้าเอง หญ้าที่แนะนำได้แก่หญ้า หญ้าขน หญ้ารูซี่ เหมาะสำหรับปล่อยโคลงแทะเล็มเองในแปลงหญ้า และหญ้ากินนีสีม่วง หญ้าเนเปียร์ เหมาะกับตัดสดให้โคกิน 2 วัสดุเหลือจากการเกษตรอื่นๆ เช่นฟางข้าว เปลือกสับปะรด ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย บางมีคุณค่าทางอาหารต่ำ แต่ยังใช้เลี้ยงโคขุนแบบขุนโดยเสริมอาหารข้นได้ดี 

อาหารข้น คืออาหารที่มีเยื่อใยต่ำ มีโปรตีนสูง มีการย่อยได้สูง ประกอบด้วยวัสดุต่างๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ผสมกันให้ครบส่วนตามความต้องการของโคใช้เสริมกับอาหารหยาบ หลักการให้อาหารที่ใช้ขุนโคมีทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น อัตราส่วนระหว่างอาหารหยาบต่ออาหารข้นจะเป็นเท่าไหร่ขึ้นกับ ราคาของอาหารทั้งสองเปรียบเทียบกัน อายุและสภาพของโค ระยะเวลาของการขุน ระยะต้นหรือระยะปลาย จำนวนอาหารข้นที่ให้กินอย่างเต็มที่หรือกินอย่างจำกัด ถ้าให้กินอาหารข้นจำกัด จำนวนอาหารหยาบที่ใช้เลี้ยงโคต้องเพิ่มสูงด้วย อากาศ ถ้าร้อนควรให้อาหารข้นสูง

 

การสุขาภิบาล การตัดการใดๆ ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและตัวโคเอง เพื่อทำให้โคอยู่สบาย สุขภาพดี ซึ่งส่งผลให้มัการเจริญเติบโตดีตามไปด้วย ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพโคที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะขุน ประกอบด้วย ท้องเสีย ท้องอืด ปอดบวม เกิดบาดแผล เป็นผี ตาอักเสบ กีบเป็นแผล เกิดโรคระบาดต่างๆ ถึงจะได้รับวัคซีนก็ไม่ได้รับประกันว่าคุ้มกันโรคได้ 100% ป้องกันโรค และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของโค ได้โดย คัดเลือกเฉพาะโคที่มีคุณภาพ ลักษณะดี แปละปลอดโรคต่างๆ ไว้เลี้ยงหรือผสมพันธ์ ให้อาหารถูกสุขลักษณะ จัดทำทะเบียน บันทึกสุขภาพโคทุกตัว หมั่นสังเกตสุขภาพโคเมื่อมีความผิดปกติจะได้ทำการแก้ไขทันที เมื่อพบว่าโคมีอาการผิดปกติ ให้แยกออกจากฝูง เพื่อสังเกตอาการและรักษา ก่อนซื้อ หรือนำโคใหม่เข้ามาในฝูง ต้องแน่ว่าปลอดจากโรคต่างๆ และแยกเลี้ยงก่อนนำเข้าฝูง 2 – 4 สัปดาห์

 

ลักษณะโคที่พร้อมส่งตลาด เมื่อกล้ามเนื้อของโคเจริญเกือบเต็มที่หรือเต็มที่แล้ว ร่างกายโคจะเริ่มสะสมไขมันแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อและหุ้มอยู่นอกกล้ามเนื้อ จุดที่สังเกตได้ชัดจากภายนอก คือ บริเวณ 2 ข้างของโคนหาง ถ้าไขมันตรงจุดนั้นขึ้นพอสมควรแล้วแสดงว่าโคถึงกำหนดส่งตลาดแล้ว ถ้าหากยังชะลอต่อไปกำไรจะค่อยๆ ลดลง เพราะระยะนี้น้ำหนักโคจะเพิ่มเล็กน้อยมากในขณะที่ต้องกินอาหารมาก ถ้าจะส่งตลาดที่ไม่เข้มงวดเรื่องไขมันควรจะรีบส่งตลาดตั้งแต่โคอ้วนเต็มที่โดยที่ไขมันยังไม่ขึ้นมาให้เห็น

 

การเลี้ยงโคขุนสามารถยึดเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงได้ นอกจากแนวทางดังกล่าว การเลี้ยงโคขุนยังมีปัจจัยและตัวแปรอีกหลายอย่างที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมีผลต่อการเลี้ยงโคขุน  หวังว่าแนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับทุกคนที่สนใจในการเลี้ยงโคขุน

**********************************************************

 

ข้อมูล : สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ 

เรียบเรียงโดย นายภัคพล พงษ์เจริญธรรม นักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ