×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_06_05/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_06_05/

2563 06 05 001

วันนี้(วันศุกร์ที่ 5 มิ.ย.2563) เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทยสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์รายการ "สารตั้งต้น" ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ PPTV 36 วันศุกร์ที่ 19 มิ.ย.2563 เวลา 22.30 น. เรื่อง โรคกาฬโรคแอฟริกันในม้า ในประเด็นสถานการณ์ของโรค มาตรการในการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกรมปศุสัตว์ ณ ห้องประชุมซุ้มเรือนแก้ว ชั้นล่างตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท

ข่าวเพิ่มเติม... อธิบดีกรมปศุสัตว์ให้สัมภาษณ์สารคดีเชิงข่าว “รายการสารตั้งต้น” ช่อง PPTV HD 36 ในความคืบหน้าการป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ออกอากาศศุกร์ที่ 19 มิ.ย. 63 เวลา 22.30 น. ??
     วันที่ 5 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 น.
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์สารคดีเชิงข่าว “รายการสารตั้งต้น” ช่อง PPTV HD 36 ในประเด็นสถานการณ์ และความคืบหน้าและผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า
     เนื่องจากสถานการณ์การเกิดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ในประเทศไทย ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อวงการเลี้ยงม้าในประเทศไทยอย่างมาก โดยเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคในประเทศไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญ และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขและควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวให้เร็วที่สุด กรมปศุสัตว์รับแจ้งครั้งแรกวันที่ 25 มีนาคม 2563 และได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคมหาวิทยาลัย สมาคมฯ และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้น สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในวงพื้นที่จำกัด ไม่มีรายงานม้าตายต่อเนื่องติดต่อกันประมาณ 10 วันแล้ว สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความร่วมมือจากผู้เลี้ยงม้า ที่ให้ความร่วมมือในการนำม้าเข้ามุ้ง กำจัดแมลงพาหะ และไม่ทำการเคลื่อนย้าย เพื่อจะได้เข้าสู่สถานการณ์ปกติได้โดยเร็ว
     กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายควบคุมโรคและขอคืนสภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) โดยเร็วที่สุด ได้ทำแผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เพื่อคืนสภาพปลอดโรคของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คือระยะเผชิญเหตุ (กำลังอยู่ในระยะนี้) ระยะที่ 2 คือการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ และระยะที่ 3 คือการขอคืนสภาพปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) มีแผนเป้าหมายการฉีดวัคซีนในพื้นที่รอบจุดเกิดโรคในรัศมี 50 กิโลเมตร และในพื้นที่เสี่ยงสูงที่วิเคราะห์จากหลักระบาดวิทยา รวมใน 19 จังหวัด เป้าหมายในม้าจำนวน 7,999 ตัว ดำเนินการฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 6,641 ตัว (คิดเป็น 83.66%) (ข้อมูลวันที่ 4 มิถุนายน 2563) และได้แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง รวม 6 คณะ ครอบคลุมทั้งด้านนโยบาย วิชาการ การใช้วัคซีน การสอบสวนโรคและการเฝ้าระวัง การลงพื้นที่ภาคสนาม และศึกษาด้านแมลงพาหะ เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
     นอกจากนี้ จากความร่วมมือกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมและผู้เลี้ยงม้า นักวิชาการ และภาคมหาวิทยาลัย ซึ่งในทางปฏิบัติได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในทิศทางและรูปแบบเดียวกัน มีความเข้าใจที่ตรงกัน จะมีการทำความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน Public Private Partnerships (PPP) อย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปแบบข้อตกลงร่วมกัน (MOU) โดยมีเป้าหมายหลัก 3 เป้าหมาย คือ 1. การขอคืนสถานะปลอดโรคจาก OIE 2. การกำจัดโรค AHS ให้หมดจากประเทศไทย และ 3. การวางมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรค มีขอบข่ายความร่วมมือในการรายงานแจ้งสถานการณ์โรคให้ OIE การควบคุมโรค (ควบคุมการเคลื่อนย้าย การทำวัคซีน และการเฝ้าระวัง) และการวางนโยบายและมาตรการในการนำเข้า-ส่งออก และการอำนวยความสะดวกและประสานงานร่วมมือกันในด้านต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยปลอดจากโรค AHS และวงการเลี้ยงม้ากลับสู่สถานการณ์ปกติได้โดยเร็วที่สุด
     ณ ซุ้มเรือนแก้ว ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2563/2563_06_05/{/gallery}

ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด / ข่าว เพ็ญศิริ ดวงอุดม เผยแพร่ สลก. / ข่าวเพิ่มเติม... ทีมเลขาอธิบดีกรมปศุสัตว์