×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2561/2561_03_13a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2561/2561_03_13a/

2561 03 13a 003

 

 

 

 

 

 

 

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกันแถลงถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า และมาตรการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ณ ห้องประชุม 124 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561

 นายเลิศวิโรจน์  โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าปีนี้ไม่รุนแรงกว่าปี 2559 และปี 2560 ประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น เนื่องจากการบังคับใช้กฏหมายตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 อย่างจริงจัง เพื่อให้โรคสงบอย่างรวดเร็ว  ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายคือ ไม่ให้เกิดโรคระบาด หากเกิดโรคต้องทำให้สงบอย่างรวดเร็ว ไม่ให้แพร่กระจายไปที่อื่น ทั้งนี้ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ได้แก่ ประกาศเขตโรคระบาด มีรัศมี 5 กม.  สำรวจสุนัข-แมวในรัศมี 5 กม. ให้ได้ 100 %  ฉีดวัคซีนให้ได้ 100 %  สั่งกักสัตว์ที่มีเจ้าของห้ามออกนอกบริเวณบ้าน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่/หากพบสัตว์เป็นโรค /สัมผัสสัตว์ป่วย/สงสัยว่าเป็นโรค เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการทำลายสัตว์ทันที

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่มกราคม – 12 มีนาคม 2561 มีจังหวัดประกาศพื้นที่เขตโรคระบาดชั่วคราว 37 จังหวัด และขณะนี้คงเหลือประกาศ 26 จังหวัด ซึ่งบางจังหวัดมีเพียง 1 จุด (มีจำวน 8 จังหวัด) บางจังหวัดมีเพียง 2 จุด (มีจำนวน 11 จังหวัด  จังหวัดทีมีเพียง 3 จุด (มีจำนวน 3 จังหวัด ซึ่ง 1 จุดมีรัศมี 5 กม.) และจังหวัดทีมีมากกว่า 3 จุด มีจำนวน 4 จังหวัด ทั้งนี้ ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราวมีอายุ30วัน นับตั้งแต่วันประกาศ โดยไม่มีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก ส่วนสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้านั้น ในปี 2561 มี 4 ราย  ปี 2560 มี 11 ราย และปี 2559 มี 13 ราย ซึ่งจะพบว่ามีจำนวนน้อยลงทุกปีตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากการรับรู้ของเจ้าของสัตว์และบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้น

ด้านนายสัตวแพทย์อภัย  สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึงเรื่องวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าว่า มีจำนวนวัคซีนเพียงพอต่อการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งนี้ ตามโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธาน         ศาตราจารย์ ดร.สมเด็จลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตั้งงบประมาณ 311 ล้านบาท (เป็นค่าวัคซีน 10 ล้านโด๊ส พร้อมอุปกรณ์ การสำรวจสัตว์สุนัข-แมวตัวละ 3 บาท/ครั้ง ปีละ 2 ครั้ง ) ในการนี้ กรมปศุสัตว์จัดซื้อวัคซีน 1 ล้านโด๊ส เพื่อการควบคุมโรคในพื้นที่เกิดโรคและจุดเสี่ยง ซึ่งสถานพยาบาลสัตว์ทั้งประเทศมี 2,300 แห่ง ตามรายงานการฉีดวัคซีน 700,000 ตัว/ปี  ส่วนมาตรการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้น มีคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดเป็นเลขานุการ  มีหน้าที่กำหนดแผนการฉีดวัคซีน การกำกับ ติดตาม เสนอแนะและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า สนับสนุนให้การปฏิบัติงานระดับอำเภอเป็นไปตามเป้าหมาย  นอกจากนี้ มีการฉีดวัคซีน/การทำหมัน เพื่อลดประชากรสัตว์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสุนัข  7 ล้านตัว และแมว 3 ล้านตัว รวม 10 ล้านตัว เป็นสุนัข-แมวจรจัด จำนวน 1 ล้านตัว

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์มีมาตรการควบคุมโรค โดยการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558   พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535  และพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ดังนั้น หากมีคนตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าหรือสัตว์ตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้าให้มีการประกาศโรคระบาดทันทีและดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายของพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 อย่างเคร่งครัด ซึ่งกฏหมายให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ทำลายสัตว์กรณีสงสัยสัตว์เป็นโรค สัมผัสโรค หรือสงสัยว่าเป็นโรคในพื้นที่ที่กำหนดในประกาศเขตโรคระบาด ซึ่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 กำหนดให้สามารถดำเนินการได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้านั้น จังหวัดสีเขียว  เป็นจังหวัดที่ไม่พบการเกิดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ ไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีการรับรองโดยยึดหลักคำนิยามจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE (Office International des Epizooties) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 21 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ลำพูน สุโขทัย บึงกาฬ  หนองบัวลำภู สกลนคร นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี ตราด ชุมพร พังงา ภูเก็ต และนราธิวาส  จังหวัดสีเหลือง เป็นจังหวัดที่พบการเกิดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะในสัตว์ ในระยะเวลา 2 ปี ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 42 จังหวัด  และ จังหวัดสีแดง เป็นจังหวัดที่พบการเกิดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในคนและสัตว์ ในระยะเวลา 2 ปี ปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา บุรีรัมย์  อุบลราชธานี สงขลา ระยอง ตาก    ศรีสะเกษ  กรุงเทพมหานคร  สระแก้ว และตรัง 

“ประเทศไทยจะปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าทุกจังหวัดภายในปี 2563 ตามโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาตราจารย์ดร.สมเด็จลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี”  อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

{gallery}news_dld/2561/2561_03_13a/{/gallery}

ภาพ/เอก ข่าว/เพ็ญศิริ กลุ่มเผยแพร่ฯ(13/3/61)