วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 14.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ช่อ9 อสมท. ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1. นโยบายในการกวดขันจับกุมการใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกร
กรมปศุสัตว์มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างตลอดห่วงโซ่ เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้แก่ ที่โรงงานอาหารสัตว์และที่ฟาร์ม (ต้นน้ำ) มีการเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำ และสุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสัตว์ ที่โรงฆ่าสัตว์ (กลางน้ำ) มีการสุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะสัตว์ก่อนเข้าเชือด และที่สถานที่จำหน่าย (ปลายน้ำ) มีการสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อเพื่อตรวจหาสารเร่งเนื้อแดง
มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสัตว์ การแต่งตั้งคณะทำงานปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดง และมีชุดปฎิบัติการเฉพาะกิจในการปราบปรามสารเร่งเนื้อแดงทั่วประเทศ
ซึ่งจากการดำเนินการ เฝ้าระวัง และการลงโทษผู้ที่ทำผิดอย่างเข้มงวด และการประชาสัมพันธ์ของกรมปศุสัตว์ทำให้การตรวจพบในปี 61 มีอัตราที่ลดลงเหลือ 0.5% เทียบจากปีที่แล้ว
2. ความคืบหน้าโครงการโคบาลบูรพา
ได้ส่งมอบพันธุ์สัตว์ โคเนื้อแล้ว 11,693 ตัว (เหลือ 18,307 ตัว) จะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 61 ส่งมอบแพะเนื้อแล้ว 3,200 ตัว (ครบตามเป้าหมาย) มีการทำแปลงพืชอาหารสัตว์ ของโคเนื้อจำนวน 3,406 ราย รวม 17,030 ไร่ และแพะเนื้อจำนวน 100 ราย รวม 300 ไร่ มีการจัดตั้งรวมกลุ่มของสหกรณ์
มีความพร้อมในด้านเชื่อมโยงตลาด ประสานที่จะรับซื้อซึ่งเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงโคขุนในพื้นที่ปศุสัตว์ เขต 2 ได้แก่ สหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด , ปกรณ์ฟาร์ม (อ.ปกรณ์) , บริษัท ช็อคโกแลตเค้ก จำกัด , กลุ่ม บริษัท พรีเมี่ยมบีฟ จำกัด และบริษัท สยามบีฟ จำกัด โดยดำเนินการผ่านสหกรณ์ ที่ตั้งขึ้นในโครงการ และจะมีการจัดทำ MOU ระหว่างกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกร ตามแนวทางตลาดนำการผลิต ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข่าว/ภาพข่าว วีรวัฒน์ วะชุม 26 มิย. 61
{gallery}news_dld/2561/2561_06_26b/{/gallery}