×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_04_10/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_04_10/

 2562 04 10 003
10 เมษายน 2562 เวลา 9.30น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน ประชุมชี้แจงแนวทางดำเนินงานการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน และการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยมีนายอำพันธ์ุ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมพร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์และนายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์  ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จำนวน 120 คนเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
         ด้วยกรมปศุสัตว์ได้รับมอบหมายบทบาทหน้าที่สำคัญตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562ให้เป็นอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนภายใต้คณะกรรมการอาหารนม เพื่อเด็กและเยาวชน ภายใต้วิธีการดำเนินงานและแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทำโครงการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน เพื่อเป็นการสร้างความ ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องชัดเจน ทำให้ผลการดำเนินงานได้รับประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  
         นอกจากนี้กรมปศุสัตว์มีภารกิจหลักในการดูแลเรื่องสุขภาพสัตว์และผลผลิตด้านปศุสัตว์ของประเทศไทย ผ่านขับเคลื่อนโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคร่วมกับผู้ประกอบการ เกษตรกร สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ   ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้วิทยาการสมัยใหม่ ทำให้ได้ผลผลิตด้านการปศุสัตว์ที่เพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการในการส่งออกไปยังต่างประเทศได้  นั้น 
       ในปัจจุบันภาคการปศุสัตว์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามด้านโรคสัตว์อุบัติใหม่ซึ่งโรคดังกล่าวคือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แม้ว่าประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโรคแต่นับว่ามีความเสี่ยงสูงมากเนื่องจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์สูงมากรวมทั้งอาจพบในผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินำติดตัวเข้ามาในประเทศไทย หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ของประเทศไทยเป็นมูลค่ามหาศาล  หากเกิดการระบาดของโรค รวมทั้งเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ สัตวแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในภาคสนามให้มีแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      โดยการประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านมีส่วนร่วมในการอภิปราย ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเสนอแนะข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติงานให้ถูกต้องชัดเจน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป 
      ณ โรงแรมเอเซีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
{gallery}news_dld/2562/2562_04_10/{/gallery}
ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ฯ สลก. / ข่าว วีรวัฒน์ วะชุม สลก.