×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_06_24d/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_06_24d/

24 06 63d 01
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้สัมภาษณ์รายการเมืองไทย 18น สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 “ไขข้อข้องใจโรคอุบัติใหม่กาฬโรคแอฟริกาม้า (African Horse Sickness: AHS) ในประเทศไทย” กำหนดออกอากาศในวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน และ 4 กรกฎาคม 2563 เวลา 18.00 น. โดยดร.มนัส ตั้งสุข เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
     เนื่องด้วยโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) เป็นโรคที่พบรายงานการเกิดโรคในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในม้า ลา ล่อ ม้าลาย และอูฐ อาการป่วยรุนแรงถึงตายได้ในม้าและล่อแสดง ส่วนในลาและม้าลายจะแสดงอาการแบบไม่รุนแรง โดยไม่พบรายงานการติดต่อจากสัตว์สู่คน การติดต่อของโรคนี้ เกิดจากการถูกแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะในการแพร่โรคมากัด เช่น ตัวริ้น เหลือบ หรือแมลงวันคอก มีระยะฟักตัวของโรค 2-21 วัน สามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ โดยการตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยวิธี RT-PCR และการตรวจระดับภูมิคุ้มกันด้วยวิธี ELISA จากตัวอย่างเลือดและซีรั่ม
     จากการสำรวจทั่วประเทศไทยมีจำนวนม้าทั้งหมด 18,093 ตัว มีผู้เลี้ยงม้าจำนวน 3,249 ราย รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2563 ปัจจุบันพบการระบาดของโรคในวงจำกัด 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, ชลบุรี, ชัยภูมิ, สระแก้ว, สระบุรี, พระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา นนทบุรี, ปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฯ โดยพบม้าป่วยสะสม 603 ตัว (3.3%) และตายสะสม 561 ตัว (3.1%) เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งเชิงบวก คือ เกิดความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคเพื่อกำจัดโรคและเพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจาก OIE ทั้งภาครัฐ สมาคม ชมรม มูลนิธิ และผู้เลี้ยง ในรูปแบบของ (PPP: Public Private Partnership) ซึ่งจะมีการลงนามใน MOU ร่วมกัน 18 หน่วยงานในเร็วๆ นี้ และทำให้ทราบการกระจายตัวและจำนวนประชากรม้า ลา ล่อ ม้าลายที่ใกล้เคียงกับข้อมูลที่แท้จริง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ส่งผลกระทบเชิงลบ คือ ทำให้เกิดการสูญเสียม้าเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงม้าหลายราย ต้องหยุดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงม้า ส่งผลให้ขาดรายได้จากการที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายม้าเพื่อไปดำเนินงานในจุดต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ เพิ่มภาระความรับผิดชอบและต้นทุนในการดูแลม้ามากขึ้น
     กรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคณาจารย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ สัตวแพทย์ที่ปรึกษาฟาร์มม้า สมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาม้าแข่งไทย สมาคมกีฬาโปโลแห่งประเทศไทย และผู้แทนผู้เลี้ยงม้าทั่วประเทศ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการกำจัดโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าในประเทศไทยอนุมัติใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2563 และได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด มีมาตรการหลักๆ ในการควบคุมและป้องกันโรค ประกอบด้วย การเฝ้าระวังทางอาการ และทางห้องปฏิบัติการในสัตว์กลุ่มเสี่ยง เช่น ม้า ลา ล่อ และม้าลาย การป้องกันและการลดประชากรแมลงดูดเลือด เช่น ให้นำม้าเข้ามุ้ง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ในม้า ลา และล่อ ในพื้นที่เกิดโรคและพื้นที่เสี่ยงในรัศมีที่กำหนด การขึ้นทะเบียนม้าทุกตัว และการควบคุมเคลื่อนย้ายม้า ลา ล่อ และม้าลาย การดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะเผชิญเหตุโรคระบาดกาฬโรคแอฟริกาในม้า โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงานในระยะนี้ คือ เพื่อการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพโดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (กำลังอยู่ในระยะนี้) ระยะที่ 2 ระยะเฝ้าระวังและป้องกันการอุบัติซ้ำของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า เน้นที่การควบคุมการนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศ ขึ้นทะเบียนม้า ลา ล่อ อูฐ และม้าลาย และพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ติดตามและประเมินผล และระยะที่ 3 ระยะขอคืนสถานภาพรับรองปลอดกาฬโรคแอฟริกาในม้าในประเทศไทย จากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เมื่อประเทศไทยไม่พบการระบาดของโรคนี้ในระยะ 2 ปี ไม่พบม้าป่วยใหม่เพิ่มเติมในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยจะต้องมีการหยุดการใช้วัคซีนภายในประเทศก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
     ดังนั้นประเทศไทยจึงเน้นการใช้วัคซีนเพื่อการควบคุมโรคเท่านั้น และต้องขอความร่วมมือผู้เลี้ยงม้าทุกท่านให้ดำเนินการตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้โรคนี้สงบลงโดยเร็วที่สุด และลดความเสียหายในระยะยาวต่อไป
     ณ ห้องประชุมซุ้มเรือนแก้ว ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์
ภาพ ธงชัย สาลี สลก /ข่าว คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์
 {gallery}news_dld/2563/2563_06_24d/{/gallery}