รมช.ประภัตร ติดตามความคืบหน้าและรับฟังปัญหา ความเดือดร้อนของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
แก่งน้ำต้อน เป็นแหล่งรองรับน้ำและเก็บกักน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชอาหารสัตว์ขอนแก่น
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังบรรยายสรุปและรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชน ในโอกาสติดตามการดำเนินงานการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ บึงแก่งน้ำต้อน บ้านสะอาด ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น
โอกาสนี้ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมัคลานนท์ นายสุรเดช สมิเปรมและนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีทั้ง 3 ท่าน นายชาญประเสริฐ พลชา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการปศุสัตว์ นายโสภัชย์ ชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ร่วมสร้างความเข้าใจ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย ในกรณีที่ขาดน้ำ ปลูกพืชไม่ได้ผลให้สามารถเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะมีรายได้ที่ดี มีตลาดและหลักประกันในการเลี้ยงโดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน
จากนั้น อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เชิญ รมช.ประภัตรฯ เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ ขอนแก่น ซึ่ง ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาพืขอาหารสัตว์ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อสร้างรายได้เพิ่มแก่เกษตรกร รวมทั้ง แก้ปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารที่มีราคาสูง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย
ทั้งนี้ รมช.ประภัตรฯ ได้แนะนำและมอบต้นพันธ์ุแหนแดง (ผลงานกรมวิชาการเกษตรศึกษาวิจัย)แก่ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น แหนแดง เป็นพืชอาหารสัตว์ ที่ดี ปลูกง่าย ใช้เวลาปลูกระยะสั้นเติบโตเร็ว 15-30 วัน สามารถขายได้ เป็นที่ต้องการของตลาด โปรตีนสูง และมีไนโตรเจนสูงถึง 5 % ในขณะที่ปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่วมีธาตุอาหารไนโตรเจนประมาณ 2.5 - 3 % ขณะที่ราคาอาหารสัตว์ท้องตลาดราคา 12 บาท/กก. แต่หากเป็นอาหารที่ผสมเองราคา 4 บาท/กก. จึงสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชแหนแดง เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร
สำหรับแหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก พบอยู่ตามบริเวณน้ำนิ่ง เช่น บ่อ หรือคูน้ำ สำหรับแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่บนผิวน้ำในนาข้าว 1 ไร่ จะให้ผลผลิตสดถึง 3 ตัน (150 กิโลกรัมแห้ง) ซึ่งเป็นปริมาณไนโตเจนได้ประมาณ 6 - 7 กิโลกรัม ประโยชน์คือ ทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ใช้เป็นปุ๋นอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ และมีต้นทุนต่ำ///
{gallery}news_dld/2563/2563_10_07/{/gallery}
ข่าว จิรภา วงษ์ศุข / ภาพ กลุ่มเผยแพร่ฯ สลก.