2564 06 22 0003

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.30 น.
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์เศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ครั้งที่ 1/2564 พร้อมด้วย น.สพ.เชาวฤทธิ์ บุญมาทิต (ผู้อำนวยการกองแผนงาน) เจ้าหน้าที่กองแผนงาน และผู้แทนจากสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โดยมีดร.ทองเปลว กองจันทร์ (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็นประธาน ผ่านการประชุมทางไกล (Zoom Meeting)

การประชุมดังกล่าว เพื่อรับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ด้านการเกษตร และแนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยร่วมพิจารณาใน 2 ประเด็นดังนี้
- การจัดทำโครงการภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ระดับกรม / ระดับจังหวัด)
- การประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับ BCG Model ภาคการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Bio Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ) หรือ Biobased Economy (เศรษฐกิจฐานชีวภาพ) คือ ระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้และนวัตกรรม โดยเฉพาะทางด้านชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพอื่น ๆ มาช่วยพัฒนาการ ผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ
Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) คือ ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ ประโยชน์อย่างสูงสุด
Green Economy (ศรษฐกิจสีเขียว) คือ คือ ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า กระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึง และลดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม

BCG Model จึงเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศ โดยน้อมนำหลักการ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) เป็นหลักในการพัฒนาสู่ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการผนึกพลัง ภาครัฐ-เอกชน/ชุมชน/สังคม-มหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัย-เครือข่ายต่างประเทศ ในลักษณะจตุภาคี (Quadruple Helix) เพื่อ “เปลี่ยนข้อได้เปรียบเชิง เปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ที่ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทาง วัฒนธรรมให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science Technology & Innovation) เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก พร้อมกับการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลด ความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ณ ห้องประชุมพุทธอุดมสุข ชั้น 2 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

ภาพ : ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ฯ สลก. / ข่าว : ทีมเลขารองอธิบดีกรมปศุสัตว์