2564 06 26c 001
วันที่ 26 มิถุนายน 2564  เวลา 13.15 น. นายประภัตร โพธสุธน ลงพื้นที่ คอกขุนกลางในโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อรองรับ FTA โดยมี นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายสุรเดช สมิเปรม  รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายพนม มีศิริพันธ์ ปศุสัตว์เขต 5 นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผอ.กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายพืชผล น้อยนาฝายปศุสัตว์จังหวัด ร่วมคณะ ทั้งนี้ ได้พบปะพี่น้องเครือข่ายโคเนื้อล้านนา ณ คอกกลางเครือข่ายโคเนื้อล้านนา เพื่อ รณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคลิปีสกินพร้อมทั้ง กำกับดูแลการฉีดวัคซีน LSDV แก่เกษตรกรบ้านกล้วยใหม่ ม 14 ต สันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
 
รมช.ประภัตรฯ กล่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน ตลอดจนได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เพื่อควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการแสดงความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค พร้อมทั้งได้มอบยากำจัดแมลง พาหนะนำและเวชภัณฑ์ ให้แก่ ประธานเครือข่ายและเกษตรกรกลุ่มโคเนื้อล้านนา เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค รวมทั้งกล่าวให้ขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกภาคส่วน
 
ในการนี้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมรับฟังปัญหาเกษตรกรในพื้นที่ และกล่าวว่า กรมปศุสัตว์ดำเนินการทุกวิถีทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ในเรื่องการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคลัมปี สกินให้ได้ผลนั้น ต้องทำทั้ง 5 มาตรการ ควบคู่กันไปทุก ๆ มาตรการ ได้แก่ การควบคุมการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และปฏิบัติตามแนวทางการเคลื่อนย้ายอย่างเคร่งครัด การเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว ควบคุมได้ทัน โรคสงบได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค ให้เกษตรกรป้องกันโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์ และบริเวณโดยรอบฟาร์ม ทั้งในพื้นที่ระบาดของโรคและพื้นที่เสี่ยง การรักษาสัตว์ป่วยตามอาการ และการใช้วัคซีนควบคุมโรค ซึ่ง จึงจะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โรคสงบ โดยเร็ว ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารวัคซีนฯได้มีการพิจารณากระจายวัคซีนที่จัดซื้อลงในพื้นที่ด้วยแล้ว  อีกทั้งได้ยื่นต่อ ครม.ป่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอเพิ่มวงเงินเยียวยาเกษตกร ที่โค-กระบือ ล้มตายจากการติดโรคลัมปี สกิน อีก 1 เท่า จากอัตราเยียวยาในปัจจุบันขั้นต่ำ 6,000 บาท สูงสุด 22,000 บาท เป็นเริ่มต้นที่ 12,000 บาท สูงสุดเป็น 41,000 บาท ตามราคาอ้างอิงในตลาด โดย กรมปศุสัตว์ จะจ่ายชดเชยให้เกษตรกร จากเดิมกำหนดที่ไว้ไม่เกินคนละ 2 ตัว ปรับเป็น 5-6 ตัวต่อเกษตกร 1 คน อีกด้วย รองอธิบดีกล่าว
ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว จิรภาวงษ์ศุข / กลุ่มเผยแพร่ / สลก