×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_12_15e/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_12_15e/

15 12 63 000001

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดภัยแล้งและอุทกภัยหลายๆพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้ปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ-แกะ ได้รับผลกระทบในแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 3 ล้านตัว และ  มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น กรมปศุสัตว์ซึ่งมีภารกิจให้การช่วยเหลือ สนับสนุนเสบียงสัตว์ พันธุ์สัตว์ การป้องกันโรค และการรักษาสัตว์  ทั้งนี้ เพื่อให้การบริการอย่างทั่วถึงจำเป็นต้องมีบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสำรองเสบียงสัตว์นั้น จำเป็นต้องมีเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ในการปฏิบัติงานในภารกิจต่างๆ เช่น การจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ การสำรองเสบียงสัตว์ อาทิ หญ้าแห้ง หญ้าหมัก และฟางอัดฟ่อน ตลอดจนการเก็บสำรองเสบียงสัตว์เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ รวมทั้งการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีงบประมาณ 2564 กรมปศุสัตว์มีเป้าหมายการพัฒนาศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรด้านปศุสัตว์ (Motor Pool) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรในการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์และการสำรองเสบียงสัตว์ โดยนำร่องในศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ 7 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์บุรีรัมย์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ร้อยเอ็ด ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ลำปาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์แพร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรณบุรี โดยศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรด้านปศุสัตว์จะให้บริการเครื่องตัดหญ้า เครื่องอัด- หญ้าแห้ง เครื่องเกลี่ยหญ้า และเครื่องสะบัดผึ่งหญ้าแก่กลุ่มเกษตรกร โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด เช่น มีส่วนร่วมในการออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน และค่าวัสดุการเกษตร ตลอดจนเกษตรกรต้องดูแลรักษา และส่งคืนเครื่องจักรกลในสภาพพร้อมใช้งาน

ทั้งนี้ ในการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ และสำรองเสบียงสัตว์ สามารถทดแทนแรงงาน ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และเวลา นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง และอุทกภัย ตลอดจนทดแทนแรงงานภาคเกษตรที่ลดลง และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกด้วยหากเกษตรกรรายใดสนใจจะขอรับบริการจากศูนย์บริการอาหารสัตว์ สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ในพื้นที่ หรือhttp://nutrition.dld.go.th/nutrition/ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

---------------------------------

{gallery}news_dld/2563/2563_12_15e/{/gallery}

ข้อมูล/ข่าว : สำนักพัฒนาอาหารสัตว์

เผยแพร่ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สลก.