วันที่ 24 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 น.
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ครั้งที่ 1/2561 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาอธิบดีด้านสุกร ผอ.สำนักควบคุมป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ผอ.สถาบันสุขภาพสัตว์ ผอ.กองสารวัตรและกักกัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เนื่องด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบอย่างมากในอุตสาหกรรมสุกร กรมปศุสัตว์จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 2 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฎิบัติการการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room)
2. คณะทำงานศูนย์ปฎิบัติการการป้องกันและเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) ประกอบด้วย 8 คณะทำงานย่อย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)ในสุกรของประเทศไทย ทั้งด้านก่อนเผชิญเหตุ (เน้นการมีส่วนร่วม การเฝ้าระวังเตือนภัยและการป้องกันโรค) ระยะเผชิญเหตุ (เน้นการจัดการและการตอบสนอง) และระยะหลังเผชิญเหตุ (เน้นการฟื้นฟูและการพัฒนา ลดการเกิดอุบัติซ้ำ) ประกอบด้วย 8 ด้าน
2.1 คณะทำงานด้านการป้องกันโรคเข้าประเทศและควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกร ขับเคลื่อนด้านการป้องกันโรคแก่ประเทศเชิงบูรณาการ
2.2 คณะทำงานด้านข้อมูล สารสนเทศและสอบสวนโรค ขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการและขับเคลื่อนมาตรการ
2.3 คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันโรคของฟาร์ม ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม
2.4 คณะทำงานด้านการสื่อสารความเสี่ยง ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มศักยภาพในการสื่อสารความเสี่ยง
2.5 คณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรค ขับเคลื่อนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังโรค
2.6 คณะทำงานด้านเครือข่ายห้องปฎิบัติการ ขับเคลื่อนด้านการพัฒนา การตรวจวินิจฉัยและสร้างเครือข่ายห้องปฎิบัติการ
2.7 คณะทำงานด้านการควบคุมโรค ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาการควบคุมโรค
2.8 คณะทำงานด้านการฟื้นฟูเกษตรกร ขับเคลื่อนด้านการจัดการฟื้นฟูเกษตรกร
ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานเน้นการควบคุม ป้องกันการเกิดโรค การดำเนินการมาตรการรองรับเตรียมความพร้อม มีการทำป้ายเตือนหลายภาษาให้มีความตระหนักห้ามนำสินค้าต้องห้ามที่ประกาศห้ามนำเข้ามาในไทยที่ด่าน วางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทที่ชัดเจนของผู้มีส่วนร่วม (stakeholders) ในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน
นอกจากนี้กรมปศุสัตว์จะมีการแถลงข่าวการดำเนินการและความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในความเข้มงวดและร่วมมือการดำเนินการในการตรวจสอบสินค้า ในวันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 ต่อไป
ณ ห้องประชุมม้ากัณฐกะ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์
{gallery}news_dld/2561/2561_12_24/{/gallery}
ภาพข่าว ทีมงานอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก