×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_03_21a/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_03_21a/

2562 03 21 001
วันที่ 21 มีนาคม 2562 เวลา 9.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานการประชุมผู้บริหารกรมปศุสัตว์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 4 พร้อมด้วยนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ปศุสัตว์เขต 1–9 ผู้อำนวยการกอง/สำนัก เลขานุการกรม หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน และหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและงาน/โครงการสำคัญของกรมปศุสัตว์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าในการตรวจสอบพันธุกรรม (DNA) แพะพื้นเมืองที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาส จำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นพันธุ์แพะแบล็คเบงกอล และแพะพื้นเมือง (ดำวังคีรี) รวมทั้งหมด 294 ตัวอย่าง (ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นราธิวาส 146 ตัวอย่าง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดนราธิวาส 36 ตัวอย่าง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดนราธิวาส แจกเกษตรกร 105 ตัวอย่าง)
2. รายงานแพะที่อยู่ในศูนย์พัฒนาและบำรุงพันธุ์สัตว์ ด่านซ้าย การตรวจสุขภาพแพะทุกตัวมีสุขภาพดี มีการตรวจสอบและจัดเก็บพันธุกรรม เพื่อวางแผนขยายพันธุ์ และป้องกันการผสมเลือดชิด
3. รายงานข้อมูลแพะแบล็คเบงกอล จากโครงการพระราชดำริที่นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ
4. การจัดทำแผนและความก้าวหน้าในการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)
5. การเตรียมความพร้อมรับภัยแล้ง ปี 2562
6. แนวทางการแก้ไขการลดการใช้สารเคมี การทำแปลงปศุสัตว์อินทรีย์ และแปลง GAP พืชอาหารสัตว์
7. การบริหารจัดการไข่ไก่ทั้งระบบ ให้คำนึงถึงสภาพปัญหาจากราคาไข่ไก่มีความผันผวนได้ง่าย ข้อมูลพื้นฐาน (Big Data) ที่ใช้วิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา (ด้านการผลิต อัตราการบริโภค และราคาสถานการณ์ไข่ไก่) และมาตรการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยการปรับสมดุล Demand and Supply
8. แนวทางการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มรายได้ (Mega Farm Enterprise)
9. ความก้าวหน้า ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขโครงการโคบาลบูรพา โดยปัญหาที่พบ ได้แก่ พื้นที่ภัยแล้งขอถอนตัว พื้นที่ ส.ป.ก.ยึดคืน เข้าอยู่อาศัยไม่ได้ และพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพืชอาหารสัตว์เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง มีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในแปลงพืชอาหารสัตว์ไม่เพียงพอ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว
10. ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Spec) ปัญหาหลักคือ การเบิกจ่ายและการดำเนินงานไม่เป็นตามแผน และการพิจารณากำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะมีความล่าช้า โดยได้หารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว
11. ผลการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายกรมปศุสัตว์ด้านบุคลากร ไตรมาสที่ 2
12. ผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการอย่างเคร่งครัด โปร่งใส รายงานความคืบหน้า ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน สามารถขับเคลื่อนงานของกรมปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ณ ห้องประชุมพระพิรุณ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2562/2562_03_21a/{/gallery}

ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ สลก. / ข่าว มณฑิรา ชินอรุณชัย กรมปศุสัตว์