×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2562/2562_03_21b/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2562/2562_03_21b/

2562 03 21b 004

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2562 กรมปศุสัตว์ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาวิชาการ “ยุทธศาสตร์ชาติในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และทางเลือกในการใช้โพรไบโอติกเพื่อการผลิตปศุสัตว์อย่างยั่งยืน” National strategy to reduce antibiotics use and practical approaches to use of probiotics for sustainable livestock production โดยมีนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ ในเวลา 9.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ภายในการสัมมนายุทธศาสตร์ชาติในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ฯ ครั้งนี้มีการบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากทั้งภาครัฐ  ภาคมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน เพื่อให้ทราบถึงทิศทางและนโยบายในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ สร้างการตระหนักรู้ ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล และนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการใช้โพรไบโอติกสำหรับสัตว์ เพื่อช่วยเสริมสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง สนับสนุนการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย อันเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance) จัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging Infection Disease) ซึ่งกำลังเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญด้านการสาธารณสุขในระดับนานาชาติ และเป็นปัญหามีความเกี่ยวเนื่องกันทั้ง คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม      ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพโดยขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการประสานการดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายใต้กรอบแนบคิด สุขภาพหนึ่งเดียว “One Health Approach” กรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการกำกับดูแลให้มีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เช่น ออกกฎหมายยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิด ในวัตถุประสงค์เพื่อการเร่งการเจริญเติบโต (Growth Promoter) และกฎหมายว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยา ( Medicated Feed ) ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะจะต้องมีการสั่งใช้ยาโดย สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม เป็นต้น รวมทั้งมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ จนถึงมีการลงนามในโครงการพิเศษ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ” (Raised Without Antibiotics; RWA) ร่วมกับการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารทางเลือก เช่น สมุนไพร และโพรไบโอติกส์ ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อให้การผลิตปศุสัตว์มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต

{gallery}news_dld/2562/2562_03_21b/{/gallery}

ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง ข่าว มนัสยา ทัดทอง / กลุ่มเผยแพร่ / สลก