×

คำเตือน

JFolder: :files: พาทที่ระบุไว้ ไม่มีโฟลเดอร์ พาท: [ROOT]/images/news_dld/2563/2563_08_03c/
×

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/news_dld/2563/2563_08_03c/

2563 08 03c 001

 

 

 

 

 

 

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์คุมเข้มกำชับควบคุมโรคระบาดสัตว์ สั่งการทุกพื้นที่ดำเนินงานเข้มงวด สืบสวนโรคทุกกรณีและรายงานสถานการณ์โรคทุกวัน ตามหลัก "รู้เร็ว คุมเร็ว สงบโรคได้เร็ว"

     วันที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 14.30 น.

     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมสถานการณ์การเกิดโรคและมาตรการการดำเนินงานควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน และปศุสัตว์เขต 1-9 และปศุสัตว์จังหวัดทั้ง 77 จังหวัด (ผ่านระบบทางไกล conference) เพื่อเร่งติดตามและสั่งการให้ทุกพื้นที่ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรค สืบสวนโรคทุกกรณีตามหลักการระบาดวิทยาและรายงานทุกวัน ให้ทันสถานการณ์และลงพื้นที่สืบหาสาเหตุเร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว "รู้เร็ว คุมเร็ว สงบโรคได้เร็ว" โดยให้ทุกพื้นที่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานและดำเนินงานเป็นทิศทางเดียวกัน

     เนื่องด้วยสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ส่งผลให้สัตว์เครียด มีภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยง่าย มีแนวโน้มการเกิดโรคระบาดในสัตว์สูงขึ้น จึงให้ทุกพื้นที่เร่งดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มงวดในการควบคุมโรคระบาดในสัตว์ต่างๆ ดังนี้

  1. โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth disease: FMD) ให้เฝ้าระวัง สืบสวนโรคทางระบาดวิทยาอย่างเร่งด่วน รายงานทุกวัน ประชาสัมพันธ์การป้องกัน การทำวัคซีน ควบคุมการเคลื่อนย้าย และค้นหาสัตว์ป่วย เก็บตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการในทุกพื้นที่เกิดโรค เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ควบคุมโรคได้เร็ว
  2. โรคเฮโมรายิกเซปทิกซีเมีย (โรคคอบวม) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ระบาดรุนแรงในโคและกระบือ ให้ควบคุมการเคลื่อนย้าย ป้องกันการลักลอบ การประชาสัมพันธ์ การทำวัคซีนให้ครอบคลุม เตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ยาปฏิชีวนะในการรักษา การทดสอบความไวของยาในการรักษาโรค (Drug Sensitivity) โดยจากผลการทดสอบพบว่ายาที่มีความไวในการรักษาได้ผล คือ Ceftriazone, Enrofloxacin, Ampicilin และ Gentamycin การเร่งเก็บตัวอย่างและสืบสวนโรคในทุกกรณีทันที และให้รายงานสถานการณ์อัฟเดตรายวัน
  3. โรคในสัตว์ปีก ให้เฝ้าระวังการเกิดโรคทั้ง โรคไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล โรคขี้ขาว ให้ลงพื้นที่ติดตามอย่างเคร่งครัด รายงานทุกวัน
  4. โรคในสุกร ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างมาก จากความร่วมมือกันทุกภาคส่วนที่ประเทศไทย สามารถป้องกันการเกิดโรค ASF ในประเทศไทยได้อย่างเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง วันที่ 4 สค. 63 นี้ ครบเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม
  5. โรคอุบัติใหม่ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ให้เร่งควบคุมโรค สืบสวนหาสาเหตุและรายงานทุกวัน เพื่อควบคุมสถานการณ์ขอคืนสถานะปลอดโรคจากองค์การสุขภาพสัตว์โลกโดยไว โดยขณะนี้อยู่ในระยะที่ 1 ระยะเผชิญเหตุ
  6. โรคในสัตว์เลี้ยง โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ในทุกพื้นที่เร่งดำเนินการฉีดวัคซีนควบคุมโรค ดำเนินการตามมาตรการ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปี 2563 นี้ กรมปศุสัตว์ เป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันพิษสุนัขบ้าโลก World Rabies Day 2020 ด้วย
  7. การเตรียมความพร้อมการช่วยเหลือการเกิดอุทกภัย ให้ทุกพื้นที่ มีแผนเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งด้านการอพยพเคลื่อนย้ายสัตว์ เสบียงอาหารสัตว์ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และด้านบุคลากร สามารถทำการช่วยเหลือทันทีเมื่อเกิดเหตุ

      ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้สั่งการเข้มให้ทุกพื้นที่เร่งดำเนินการตามมาตรการควบคุม เฝ้าระวัง และกำจัดโรค เน้นการสืบสวนทางระบาดวิทยาทุกกรณี เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ลงพื้นที่แก้ปัญหาได้ทันที รายงานสถานการณ์การเกิดโรคอัฟเดตในทุกวัน ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรค พยากรณ์และคาดการณ์ระยะเวลาการควบคุมโรค และที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือสร้างเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคตามมาตรการที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด ตามหลัก "รู้เร็ว คุมเร็ว สงบโรคได้เร็ว" ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

{gallery}news_dld/2563/2563_08_03c/{/gallery}