วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.40 น.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ จังหวัดเลย โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์พร้อมด้วยข้าราชการเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่เฝ้ารับเสด็จ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงกดปุ่มเปิดอาคารสำนักงานโครงการฯทรงลงพระนามาภิไธยบนตราสัญลักษณ์โครงการเและเสด็จทอดพระเนตรโรงเรือนแพะ โดยมีนายเฉลิมพล บุญเจือ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ กราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายใบรับรองการปฏิบัติการเกษตรที่ดีด้านการปศุสัตว์ ของศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตรฐานฟาร์มที่ดีจาก
- องค์ประกอบฟาร์ม คือทำเลที่ตั้งดี พื้นที่เหมาะสม มีแผนผังที่ดี มีรั้วรอบขอบชิด โรงเรือนแข็งแรงสะอาด
- การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ แยกคอกสัตว์ตามขนาด อายุ การจัดการอาหาร น้ำสะอาด ภาขนะเพียงพอ มีการบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลอื่นๆ และคู่มือจัดการฟาร์ม
- การจัดการด้านบุคลากร มีการตรวจสุขภาพประจำปี
- การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยสัตว์ มีระบบการป้องกันเชื้อโรคจากภายนอก การทำลายเชื้อโรค บันทึกเข้าออกฟาร์ม การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ การควบคุมโรค กำจัดสัตว์พาหะ ทำลายซากแพะอย่างเหมาะสม การป้องกันและรักษาโรคโดยสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มและเก็บรักษายาเวชภัณฑ์อย่างเหมาะสม
- สวัสดิภาพสัตว์ สัตว์ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ โรงเรือนสะอาด พื้นที่เหมาะสม
- การจัดการสิ่งแวดล้อม มีวิธีกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและซากสัตว์อย่างเหมาะสม จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงทอดพระเนตรแพะพันธุ์บอร์และพันธุ์ชาแนนตามพระราชอัธยาศัย
ในโอกาสนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้รับเกียรติน้อมเกล้าถวายเมนู ดังนี้
1. ออร์เดิร์ฟชีสนมแพะ (เชดด้าชีทนมแพะและเฟต้าชิส)วัตถุดิบน้ำนมแพะที่ใช้ในการผลิตชีสวันนี้ มาจากโครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านดงพระพร จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีการดำเนินงานในด้านการผลิตแพะ และโคพระราชทาน ศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
2. ลาบไก่งวง เนื้อไก่งวงถือเป็นเนื้อที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง และคอเลสเตอรอลต่ำ สามารถนำไปปรุงอาหารและ แปรรูปได้หลากหลาย เช่น ไก่งวงอบ ไก่งวงรมควัน สเต็กไก่งวง สลัดไก่งวง และที่สำคัญคือ ลาบไก่งวง ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยอีสาน โดยมีวิธีทำคือใช้เนื้อส่วนอกและสะโพกไก่งวง ไปสับให้ละเอียด จากนั้นนำไปรวนในกระทะให้สุก คลุกเคล้าด้วยเครื่องปรุงลาบตามแบบฉบับชาวอีสานเสริฟพร้อมกับผักเคียงจาก Young smart farmer ที่รับเมล็ดพันธุ์ผักพื้นเมืองจากโครงการทหารพันธุ์ดีเพื่อขึ้นโต๊ะเสวยกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติ
พระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดเลยในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 และจัดเตรียมอาหารตอนรับแขกผู้มีเกียรติ และข้าราชบริพารที่ร่วมรับเสด็จในครั้งนี้ด้วย
ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทาน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
{gallery}news_dld/2563/2563_07_16a/{/gallery}
ภาพ กิตติพรรณ จืนดามัง / ข่าว ทีมงานรองอธิบดี / กลุ่มเผยแพร่ / สลก