โรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2559  เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางปฏิบัติงานแก่โรงเรียนทั่วไป และหาแนวทางพัฒนาโรงเรียนอื่นๆ ให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น  ซึ่งผลการคัดเลือก โรงเรียนตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น  ดังนี้ 
                 ชนะเลิศอันดับหนึ่ง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน จ.ราชบุรี ครูใหญ่ พ.ต.ต.วันชัย  กุลโสภณ  กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์  มีการเลี้ยงไก่ไข่ (กรงตับ) การเลี้ยงสุกรขุน การเลี้ยงเป็ดเทศ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง(พันธุ์ประดู่หางดำ) ฯลฯ  การจัดการผลิตปศุสัตว์  โรงเรือนและคอกสัตว์มีสภาพแข็งแรง ขนาดเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท  ทำความสะอาดโรงเรือนและบริเวณรอบโรงเรือนจัดเก็บอุปกรณ์การเลี้ยงอย่างเหมาะสม  เลี้ยงสัตว์หลากหลาย  เพื่อผลิตอาหารและเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน  วางแผนการเลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสมกับช่วงปิดภาคเรียนและสภาพอากาศ  เลือกพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่  เป็นที่ต้องการของชุมชน บันทึกข้อมูลกิจกรรม  สรุปผลการเลี้ยงเมื่อจบรุ่นอย่างสม่ำเสมอ จัดแสดงข้อมูลต่างๆเพื่อการศึกษาเรียนรู้   การเลี้ยงไก่ไข่ (กรงตับ) วางแผนเลี้ยงครั้งละ 200 ตัว  การเลี้ยงสุกรขุน ใช้เศษอาหารผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ที่หาได้ในโรงเรียน เช่น หยวกกล้วย เพื่อลดต้นทุน ขายสุกรขุนให้พ่อค้าและนำเงินซื้อเนื้อสัตว์เพื่อใช้ประกอบเลี้ยงนักเรียน  การเลี้ยงเป็ดเทศ ใช้เศษอาหารเป็นอาหาร  เลี้ยงขยายพันธุ์โดยปล่อยให้ฟักไข่เองตามธรรมชาติ  ช่วงฤดูฝนเก็บไข่ขายไม่ให้ฟัก การเลี้ยงไก่พื้นเมือง(พันธุ์ประดู่หางดำ) เพื่อกระจายพันธุ์ให้แก่ผู้ปกครองเลี้ยงเพิ่มอาหารโปรตีนในครอบครัว เหลือจากการบริโภคสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริม  การบริหารจัดการผลผลิต นักเรียนได้ทานไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง  ได้บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ครบตามเกณฑ์ความต้องการ  ผลผลิตจากกิจกรรมต่างๆ นำเข้าโครงการอาหารกลางวันขายผ่านระบบสหกรณ์  เหลือจึงขายให้ผู้ปกครอง ชุมชน ไม่มีปัญหาในการจำหน่ายผลผลิต  การแปรรูปทำไข่เค็ม มูลสัตว์นำไปทำปุ๋ยหมักใช้ในแปลงพืชผัก  การบูรณาการและการขยายผลสู่ชุมชน  บูรณาการกิจกรรมต่างๆ ทำปุ๋ยบ่อปลาจากมูลสัตว์  สหกรณ์ส่งผลผลิตจำหน่าย จัดทำบัญชี   นำมูลสัตว์ทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกใส่แปลงผัก  ผลผลิตประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับอาหารโปรตีน  การเรียนบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้สมุนไพร ฟ้าทะลายโจร  กระเพรา กระถิน ปอกระสา  ต้นกล้วย ฯลฯ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม สับเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียน  โรงเรียนขยายกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์สู่ชุมชน  ศิษย์เก่านำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์เลี้ยงสัตว์ไปประกอบอาชีพ เข้ามาศึกษาหาความรู้  และปรึกษาปัญหาด้านการเลี้ยงสัตว์จากโรงเรียนเป็นประจำ
                ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง  มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงระดับสมส่วน  มีความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์สามารถถ่ายทอดความรู้ได้  มีเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงสัตว์  โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปศุสัตว์ของนักเรียน ชุมชน และผู้สนใจ  จุดเด่นของโรงเรียน  เลี้ยงสัตว์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  โดยเฉพาะไก่ไข่ ปัจจุบันเลี้ยงเป็นรุ่นที่ 13 บันทึกข้อมูลการผลิตรายงานรับ – จ่ายจำหน่ายสหกรณ์ สรุปผลรายงานผลงานต่อเนื่องสม่ำเสมอ  จัดเก็บข้อมูลเป็นระเบียบใช้ศึกษาเรียนรู้ได้  วางแผนการเลี้ยงสัตว์เหมาะสม  ให้มีผลผลิตต่อเนื่อง  เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนซึ่งมีจำนวนมากและมีนักเรียนบ้านไกล  จำหน่ายผลผลิตจากกิจกรรมให้ชุมชน โรงแรม รีสอร์ทใกล้โรงเรียนผ่านระบบสหกรณ์ของโรงเรียน  นักเรียนมีเจตคติที่ดีกับการเลี้ยงสัตว์ กล้าแสดงออก  โรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้  มีเงินกองทุนแต่ละกิจกรรม ใช้หมุนเวียนดำเนินกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง  ผู้บริหาร ครู ให้ความสำคัญกับกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบโรงเรียน

                        อันดับที่ 2  โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว  จ.ฉะเชิงเทรา ผู้อำนวยการฯ  ร.ต.อ.เจริญ  บุราณรมย์  กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์  การเลี้ยงไก่ไข่  การเลี้ยงไก่เนื้อ  การเลี้ยงกระบือ  4  ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 3 ตัว)  การเลี้ยงสุกร (หมูหลุม) การเลี้ยงเป็ดเทศ  ฯลฯ  การจัดการผลิตปศุสัตว์  โรงเรือนคอกสัตว์สภาพแข็งแรง  ขนาดเหมาะสมกับจำนวนสัตว์  มีการบำรุงรักษาที่ดี ปลอดภัยแก่สัตว์และนักเรียน  ทำความสะอาดโรงเรือนและบริเวณรอบโรงเรือน  จัดเก็บอุปกรณ์การเลี้ยงเหมาะสม  เลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชนประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียน  บันทึกข้อมูลกิจกรรม  สรุปผลการเลี้ยงเมื่อจบรุ่นอย่างสม่ำเสมอ  การเลี้ยงไก่ไข่ (กรงตับ)  วางแผนครั้งละ 2 โรงเรือน นำเข้าเลี้ยงห่างกัน  6 เดือน  การเลี้ยงไก่เนื้อ เลี้ยงภาคเรียนละ 600 ตัว  นำเข้าห่างกัน 1 เดือน   การเลี้ยงสุกร (หมูหลุม) เพื่อการเรียนรู้  เลี้ยงด้วยเศษอาหาร ขายหมูขุนให้ชาวบ้าน  ประกอบการเรียนการสอนทำฟาร์มครบวงจร  การเลี้ยงกระบือ เพื่อสาธิตการใช้แรงงานทำนา ลดต้นทุนการผลิต  นำมูลกระบือเป็นปุ๋ยในการปลูกพืช  การบริหารจัดการผลผลิต  ผลผลิตเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ใช้ประกอบอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 3 ครั้ง  เมนูอาหารหลากหลาย  จำหน่ายผลผลิตสร้างรายได้ให้โรงเรียน  ผลิตส่งสหกรณ์ร้านค้าจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวัน จำหน่ายให้ครู นักเรียนกลับบ้าน  มีการแปรรูปถนอมอาหารทำไข่เค็ม ไข่ทรงเครื่อง นำเปลือกไข่ไปปลูกพืช ประดิษฐ์เป็นมู่ลี่  มูลสัตว์ทำปุ๋ย และแก๊สชีวภาพ  การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน  นักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบกิจกรรมเลี้ยงสัตว์ ทำงานเป็นหมู่คณะ กล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดตั้งคณะกรรมการปศุสัตว์ คณะกรรมการสหกรณ์และกลุ่มยุวเกษตรกร  ประชุมสรุปผลการดำเนินงานด้านปศุสัตว์  นอกจากกระบวนการเรียนการสอนตามสาระวิชายังจัดกิจกรรมให้นักเรียนฝึกการเรียนรู้ด้านการตลาด โดยนำผลผลิตของโรงเรียนออกขายในตลาด การวัดประเมินผลผู้เรียนตามตัวชี้วัดของแผน  การบูรณาการกิจกรรมปศุสัตว์กับกิจกรรมอื่น เช่น การปลูกพืช เลี้ยงปลา สหกรณ์ บัญชีฟาร์ม และการเรียนการสอนโดยจัดเป็นฐานเรียนรู้  อาทิ ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่  ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่เนื้อ  ฐานเรียนรู้การเลี้ยงหมูป่า  ฐานเรียนรู้กระบือ  ฯลฯ

                        ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง  น้ำหนักเป็นไปตามตัวชี้วัดและจุดประสงค์ของโครงการ  นักเรียนมีความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์  การป้องกันโรค มีทักษะ ประสบการณ์ และเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงสัตว์  โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านปศุสัตว์ของนักเรียน ชุมชนและผู้สนใจ มีหน่วยงานต่างๆเข้าศึกษาดูงาน จุดเด่นของโรงเรียน  วางแผนการเลี้ยงสัตว์เหมาะสมให้มีผลผลิตต่อเนื่อง สม่ำเสมอและเพียงพอตามความต้องการของนักเรียนซึ่งมีจำนวนมาก ข้อมูลบัญชีฟาร์ม จดบันทึกสรุปรุ่นการเลี้ยงไก่ไข่ จัดเก็บข้อมูลเป็นระเบียบ สามารถใช้ศึกษาเรียนรู้ได้  นักเรียนมีเจตคติที่ดีกับการเลี้ยงสัตว์ กล้าแสดงออก สามารถเผยแพร่เทคโนโลยีที่ได้ และนำเทคโนโลยีที่ได้ไปเป็นอาชีพ  มีความเด่นด้านประมงและปศุสัตว์  โรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้  มีนวัตกรรมการเกษตรต่างๆ  มีการขยายผลสู่ชุมชน ติดตามการขยายผล แลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนผู้ปกครอง

                       อันดับที่ 3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  จ.มุกดาหาร    ครูใหญ่  พ.ต.ต.สดใส  โภคทรัพย์  กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์  การเลี้ยงไก่ไข่(กรงตับ) การเลี้ยงไก่ไข่(ปล่อยพื้น)  การเลี้ยงไก่พื้นเมือง  การเลี้ยงไก่เนื้อ  การเลี้ยงไก่งวง  การเลี้ยงสุกรขุน การเลี้ยงเป็ดเทศ  การจัดการผลิตปศุสัตว์  วางแผนการเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง มีผลผลิตตลอดปี รายได้เป็นกองทุนของกิจกรรมเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดเพื่อให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้  การเลี้ยงไก่ไข่ (กรงตับ) ไก่เหลือ 180 ตัว ไข่วันละ 170 ฟอง การเลี้ยงไก่ไข่ (ปล่อยพื้น) ไก่โรดไทย 50 ตัว ให้ไข่วันละ 40 ฟอง มีตู้ฟักขนาด 300 ฟอง  มีการฟักไข่ไก่ ผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์ปีกให้โรงเรียนและชุมชน เพื่อการเรียนรู้และลดปัญหาการขนส่งสัตว์ทางไกลขายลูกไก่ตัวละ 15 บาท การเลี้ยงไก่เนื้อเลี้ยง 6 รุ่นๆละ 100 ตัว สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน จำหน่ายผลผลิตเป็นเงินทุนหมุนเวียน  การเลี้ยงสุกรขุน  6 ตัว เป็นรุ่นที่ 6  การเลี้ยงเป็ดเทศ 27 ตัว ใช้เศษอาหาร ต้นกล้วยและเศษผัก เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร  การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน จำหน่ายผลผลิตเป็นเงินทุนอย่างต่อเนื่อง และขยายให้นักเรียนนำไปเลี้ยงที่บ้าน  การเลี้ยงไก่งวง 4 ตัว เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน  ขายมูลไก่และเศษอาหาร มีเงินกองทุน 700 บาท  การบริหารจัดการผลผลิต  ผลิตอาหารเพียงพอตามเกณฑ์ความต้องการ  นักเรียนได้รับประทานไข่ไก่สัปดาห์ละ 3 ฟอง ผลผลิตปศุสัตว์ขายผ่านสหกรณ์ และจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันเป็นหลักที่เหลือจึงขายให้สหกรณ์ในหมู่บ้าน หรือผู้ปกครอง มูลสัตว์ใช้ในกิจกรรมพืชผัก  การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน  จัดการเรียนการสอนตามนโยบาย ”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยเพิ่มงานโครงการพระราชดำริฯ  จัดฐานเรียนรู้ตามกิจกรรมต่างๆ  มีครูให้คำแนะนำแต่ละฐาน  การเรียนรู้งานด้านปศุสัตว์  จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงสัตว์ให้นักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  มีการหมุนเวียนกันแต่ละภาคเรียนให้เกิดการเรียนรู้และทักษะ สมารถนำไปประกอบอาชีพได้  การวัดประเมินความรู้และทักษะของนักเรียนด้านการเกษตรแบบยั่งยืนตามตัวชี้วัดของแผน กพด.

                        การบูรณาการและการขยายผลสู่ชุมชน  ผู้ปกครองนักเรียน  ผู้นำชุมชนช่วยเหลือพัฒนากิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ของโรงเรียนขยายผลการเลี้ยงสัตว์โดยสนับสนุนพันธุ์สัตว์ให้ผู้ปกครองนำไปเลี้ยงที่บ้าน เป็นแหล่งอาหารให้ครอบครัวและเพิ่มรายได้  ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนมีความรู้การเลี้ยงสัตว์นำไปประกอบอาชีพได้  อัตราน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง  ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาชั้นปฐมวัยระดับดีมาก  จุดเด่นของกิจกรรม  เลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด โรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามนโยบาย ”ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”  โดยใช้กิจกรรมโครงการพระราชดำริฯ  เพื่อการเรียนรู้  มีกิจกรรมฟักไข่  นักเรียนได้เรียนรู้การฟักไข่ การอนุบาลลูกสัตว์  เป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย  มีความร่วมมือในกิจกรรมอย่างดี  นักเรียนมีความสนใจ กล้าแสดงออก มีเจตคติที่ดีกับการเลี้ยงสัตว์  นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงตามเกณฑ์ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงระดับสมส่วน ขยายพันธุ์สัตว์สู่ชุมชน(ฟักไข่)  และชุมชนขยายพันธุ์สัตว์ต่อๆกันไป  จำหน่ายผลผลิตจากกิจกรรมให้ชุมชน อาทิลูกไก่  ไก่ไข่ปลด ฯลฯ                 

                                                       

*********************************************

ข้อมูล : กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ  กรมปศุสัตว์

เรียบเรียง : พิจารณา  สามนจิตติ  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกรม